คางคาก
ชื่ออื่นๆ : ทะโล้น้ำ, ไข่ปลา, เหลืองหิน, คางคก, หมี่
ต้นกำเนิด : พบตามป่าดิบริมลำธาร ที่ระดับความสูง 800-1,100 เมตร
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nyssa javanica (Blume) Wangerin
ชื่อวงศ์ : NYSSACEAE
ลักษณะของคางคาก
ต้น ไม้ต้น สูงได้ถึง 30 เมตร
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 6-11 ซม. ยาว 6-18 ซม. เส้นใบ 10-13 คู่ ออกจากสองข้างของเส้นกลางใบแบบขนนก ก้านใบยาว 2-3.5 ซม. มีขน

ดอก ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อดอกแบบกระจุกแน่น ก้านช่อดอกยาว 1-3 ซม. มีขน ช่อดอกเพศผู้มีดอกย่อย 20-40 ดอก เกสรตัวผู้ 8-10 อัน เรียงเป็น 2 วง ช่อดอกเพศเมียมีดอกย่อย 3-8 ดอก ออกดอกเดือน มี.ค.-พ.ค.
ผล ผลเมล็ดเดียวแข็ง รูปรี ยาว 1.5-2 ซม. เมื่อสุกสีแดง ติดผลเดือน พ.ค.-ต.ค.
การขยายพันธุ์ของคางคาก
การใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่คางคากต้องการ
ประโยชน์ของคางคาก
- ผลสุกรับประทานได้
- ไม้ใช้ทำฟืน
สรรพคุณทางยาของคางคาก
คุณค่าทางโภชนาการของคางคาก
การแปรรูปของคางคาก
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.qsbg.org
ภาพประกอบ : www.powo.science.kew.org
คางคาก ก้านใบ ดอก มีขน