ต้นจันทน์กะพ้อ
ชื่ออื่นๆ : จันทน์พ้อ
ต้นกำเนิด : ไทย พบมากทางภาคใต้
ชื่อสามัญ : Broken Hear Flower, Resk Puteh Keruing, Chan ka pho
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vatica diospyroides Symington.
ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE
ลักษณะของต้นจันทน์กะพ้อ
เป็นไม้ต้นใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 6-15 ม. ไม่ผลัดใบ ทรงพุ่มโปร่งไม่ค่อยสวย มีใบน้อย ต้นแตกกิ่งจำนวนมากที่ยอด กิ่งเปราะ มีน้ำยางใสซึมออกมาตามรอยแตก ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน รูปรีแกม ขอบขนานหรือรูปใบหอก โคนใบเบี้ยว และจะหลุดร่วงไปตามอายุ ดอก ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ ที่ซอกใบและปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีขาวหรือเหลืองอ่อน กลีบดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ดอกเล็กแต่กลิ่นหอมแรงมาก หอมร้อนๆ คล้ายกับแก้วกาหลง ดอกทยอยบานในเวลาใกล้เคียงกัน ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน – มีนาคม ออกดอกมากที่สุด ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์


การขยายพันธุ์ของต้นจันทน์กะพ้อ
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นจันทน์กะพ้อต้องการ
เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการความชื้นสูงในการเจริญเติบโต ลมไม่แรง แสงแดดไม่จัด การปลูกในพื้นใกล้ลุ่มน้ำจะเหมาะสมที่สุด
ประโยชน์ของต้นจันทน์กะพ้อ
ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกมีกลิ่นหอมค่อนข้างแรงมาก
สรรพคุณทางยาของต้นจันทน์กะพ้อ
ดอกมาปรุงเป็นยาหอม แก้ลม และบำรุงหัวใจ
คุณค่าทางโภชนาการของต้นจันทน์กะพ้อ
การแปรรูปของต้นจันทน์กะพ้อ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10696&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com