ทองกวาว
ชื่ออื่นๆ : ต้นจาน ทองกวาว (อีสาน)ก๋าว (ภาคเหนือ) จอมทอง (ภาคใต้) จ้า (เขมร) ทองธรรมชาติ, ทองพรหมชาติ, ทองต้น (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Flame of the Forest, Bastard Teak
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Butea monosperma (Lam.) Taub
ชื่อวงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae
ลักษณะของทองกวาว
ต้น ไม้ขนาดกลาง สูง 8-15 เมตร ลำต้นส่วนมากจะคดงอ และแตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาคล้ำ แตกระแหงเป็นร่องตื้น ๆ

ใบ เป็นใบประกอบที่ออกจาก จุดปลายก้านเดียวกัน 3 ใบ ติดเรียงเวียนสลับ แน่นบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปป้อม โคนเบี้ยว ปลายมน ลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ใบกลางจะมีก้านใบยาวและใหญ่ที่สุด

ดอก ออกเป็นช่อ ตามกิ่งเหนือรอยแผลใบและตามปลายกิ่ง ส่วนฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ลักษณะเป็นดอกถั่วขนาดใหญ่มี 5 กลีบ เกสรผู้มี 10อัน แยกเป็นอิสระ 1 อัน อีก 9 อัน โคนก้านเชื่อม ติดกันเป็นหลอด โค้งงอคล้ายรูปเคียว ออกดอกเดือนมกราคม-มีนาคม

ผล เป็นฝักแบน กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวถึง 14 ซม. มีขนคลุมแน่น ภายในมีเมล็ดแบน ๆ มีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์ของทองกวาว
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นจาน ทองกวาวต้องการ
ประโยชน์ของทองกวาว
- “ทองกวาว” เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
- ดอกใช้ย้อมสีผ้าได้ โดยจะให้สีแดง
- ใบสดนำมาใช้ห่อของหรือนำใบมาปั้นเป็นถ้วยไว้ใส่อาหารหรือขนมแทนการใช้พลาสติก
- เปลือก ใช้ทำเชือกและกระดาศ
สรรพคุณทางยาของทองกวาว
ดอก
– รับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ แก้กระหายน้ำ
– ผสมเป็นยาหยอดตา แก้เจ็บตา ฝ้าฟาง
– เป็นยาขับปัสสาวะ สมานแผลปากเปื่อย แก้พิษฝี
ยาง – ใช้แก้ท้องร่วง
ใบ
– ตำพอกฝี และสิว แก้ปวด ถอนพิษ
– แก้ท้องขึ้น ขับพยาธิ แก้ริดสีดวง
เมล็ด
– ขับไส้เดือน
– บดผสมน้ำมะนาว ทาแก้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดงและแสบร้อน
ข้อควรระวัง : เนื่องจากหลักฐานทางด้านความเป็นพิษมีน้อย จึงควรที่จะได้ระมัดระวังในการใช้ และไม่ควรใช้ติดต่อกันนานๆ
ด้านฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา มีรายงาน 2 ฉบับคือ
รายงานผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง ผู้วิจัยพบว่า ถ้าใช้สารสกัดด้วยแอลกอฮอล์ในขนาดตั้งแต่ 3.2 มก./กก./วัน ขึ้นไปมีผลด้านฮอร์โมนเพศหญิง
รายงานเรื่องการสกัดแยกสารไดโซบิวตริน (Isobutrin) และ บิวตริน (Butrin) ซึ่งมีฤทธิ์ป้องกันอันตรายต่อตับเนื่องจากสารพิษ ได้แก่ คาร์บอน เตทตร้าคลอไรด์ และ กาแลคโตซามีน ได้
สารเคมี – สารเคมีที่พบในดอกทองกวาว คือ Pongamin (Karanin), Kaempferol, ?-sitosterol, Glabrin, Glabrosaponin, Stearic acid, Palmitic acid, Butrin, Isobutrin coreopsin, Isocoreopsin, Sulfurein monospermoside และ Isomonospermoside สารที่พบส่วนใหญ่คือสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสีดอกทองกวาว มีสารที่มีรสหวานคือ glabrin.
คุณค่าทางโภชนาการของทองกวาว
การแปรรูปของต้นจานทองกวาว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11620&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment