ต้นชงโค ใบอ่อนเป็นผักที่ชาวเหนือนิยมรับประทาน นำไปแกงหรือลวกจิ้มน้ำพริก

ต้นชงโค

ชื่ออื่นๆ : ชงโค, เสี้ยวเลื่อย (ภาคใต้) เสี้ยวดอกแดง (ภาคเหนือ) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) กะเฮอ, สะเปซี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : ตอนใต้ของประเทศจีนรวมถึงฮ่องกงและทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purder

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia purpurea L

ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะของต้นชงโค

ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เรือนยอดแผ่กว้างรูปทรงไม่แน่นอน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ เป็นรูปไข่แยกเป็น 2 แฉกลึก คล้ายใบติดกันหรือใบแฝด มีขนาดประมาณ 20 ซม.

ดอก ดอกสีชมพูอมม่วง, สีม่วงสดคล้ายกล้วยไม้ และสีขาว มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตลอดวัน ดอกบานเต็มที่ขนาด 6-8 ซม. ช่อดอกออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีจำนวนดอกน้อย เกสรตัวผู้ 3 อัน ขนาดไม่เท่ากัน ออกดอกเกือบตลอดปี ออกดอกมากในฤดูหนาว

ต้นชงโค
ต้นชงโค เรือนยอดแผ่กว้าง
ใบชงโค
ใบชงโค เป็นรูปไข่แยกเป็น 2 แฉกลึก

การขยายพันธุ์ของต้นชงโค

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่งและปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ต้นชงโคต้องการ

ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง

ประโยชน์ของต้นชงโค

  • ประโยชน์ของชงโคใบชงโคนำไปต้มช่วยรักษาอาการไอได้ (ใบ)
  • ปลูกไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับบ้านและสวน เพื่อความสวยงาม
  • ใบอ่อน ของผักเสี้ยวเป็นผักที่ชาวเหนือนิยมรับประทานนำไปลวกจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกง เช่นแกงกับปลา แกงกับเนื้อนิยมแกงกับผักเชียงดา ผักชะอม มีรสอร่อย

สรรพคุณทางยาของต้นชงโค

  • ใช้รากเป็นยาขับลม เปลือกเป็นยาแก้ท้องร่วง
  • เปลือกเป็นยาแก้ท้องร่วง มีฤทธิ์แก้ท้องเสีย พอกฝี สารสกัดเอทานอล 50% ของชงโค เพิ่มระดับฮอร์โมนไทรอกซินในหนูทดลอง มีฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็ง
  • ช่วยแก้บิด (ดอก,แก่น,เปลือกต้น)
  • ช่วยขับลมในกระเพาะ (ราก)
  • บชงโคใช้พอกฝี และแผลได้ (ใบ)
  • ชงโคสรรพคุณใช้เป็นยาระบาย (ดอก,ราก)
ดอกชงโค
ดอกชงโค ดอกสีชมพูอมม่วง มีกลิ่นหอมอ่อน

คุณค่าทางโภชนาการของต้นชงโค

การแปรรูปของต้นชงโค

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9805&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment