ชาน้ำมัน
ชื่ออื่นๆ : ชาน้ำมัน
ต้นกำเนิด : มณฑลทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กระจายทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณป่าดิบไหล่เขาและริมลำธารที่มีอากาศเย็น ระดับความสูง 500-1,300 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Camellia oleifera Abel.
ชื่อวงศ์ : Theaceae
ลักษณะของชาน้ำมัน
ต้น เป็นไม้พุ่มรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ สูง 2-10 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือเทา มีขนสากตามกิ่งอ่อน
ใบ ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปทรงรี แผ่นใบหนา คล้ายแผ่นหนัง ฐานใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบจักร
ดอก ดอกมี 5 กลีบ สีขาว เกสรตัวผู้จำนวนมาก สีเหลือง ออกดอกระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม
ผล ผลขนาดเท่าผลมะนาว สีน้ำตาล แก่แล้วแตก ใช้เวลาในการเจริญ 10 เดือน จึงสามารถเก็บเกี่ยวเอาเมล็ดมาผลิตน้ำมัน เมล็ดมีลักษณะคล้ายเมล็ดเกาลัดขนาดเล็ก สีน้ำตาลเข้มถึงดำ
การขยายพันธุ์ของชาน้ำมัน
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ชาน้ำมันต้องการ
ประโยชน์ของชาน้ำมัน
- อาหารเพื่อสุขภาพ น้ำมันเมล็ดชามีคุณสมบัติคล้ายน้ำมันมะกอก แต่มีจุดเกิดควัน (smoke point) สูงกว่าน้ำมันมะกอก คือน้ำมันชาและน้ำมันมะกอกมี smoke point เท่ากับ 252 และประมาณ 200°ซ ตามลำดับ และน้ำมันชายังทนต่อปฏิกิริยาออกซิเดชัน ทำให้สามารถนำไปปรุงอาหารประเภทผัดและทอดที่ใช้อุณหภูมิที่สูงได้ ในขณะที่น้ำมันมะกอกมี smoke point ต่ำจึงเหมาะในการทำน้ำสลัดและผัดที่อุณหภูมิไม่สูงมาก อย่างไรก็ตามน้ำมันเมล็ดชาสามารถนำมาทานสด คือนำมาทำน้ำมันใส่ในน้ำสลัด หรือนำไปบรรจุแคปซูลทานได้ น้ำมันเมล็ดชามีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง จึงช่วยลดคลอเรสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
- เครื่องสำอาง บำรุงเส้นผมและผิวพรรณ เมื่อใช้โลชั่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันเมล็ดชาเป็นประจำพบว่า ช่วยปรับสภาพผิวให้เรียบเนียน เพิ่มความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่น ลดความหยาบกร้านและริ้วรอย
- กากเมล็ดชา มี saponins ในปริมาณสูง 11-18% สามารถใช้เป็นสารลดแรงตึงผิว นำมาเตรียมน้ำยาทำความสะอาด ยากำจัดศัตรูพืช เช่น หอยเชอรี่
องค์ประกอบทางเคมี
น้ำมันเมล็ดชามีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง ได้แก่ oleic acid (โอเมก้า-9) 81-87% linoleic acid (โอเมก้า-6) 13-28% และ linolenic acid (โอเมก้า-3) 1-3%
สรรพคุณทางยาของชาน้ำมัน
–
คุณค่าทางโภชนาการของชาน้ำมัน
การแปรรูปของชาน้ำมัน
พัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากโรงงานสกัดและแปรรูปน้ำมันปาล์มเป็นไบโอดีเซล ของโครงการในมูลนิธิชัยพัฒนา โดยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยามหิดล และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.pharmacy.su.ac.th
https://www.flickr.com