ต้นประดู่ พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดชลบุรี
ชื่ออื่นๆ : ดู่ หรือ ดู่ป่า (ภาคเหนือ) ฉะนอง (เชียงใหม่) จิต๊อก (ไทใหญ่-แม่ฮ่องสอน) เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ประดู่ หรือ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่เสน (สระบุรี ราชบุรี)
ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย
ชื่อสามัญ : Padauk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Plerocarpus Indicus
ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่อภาษาอังกฤษ : Burma padauk
ลักษณะของต้นประดู่
ต้นประดู่ ลำต้นสูง 15-30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่องลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้าน[8]
ใบต้นประดู่ เป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมน
ดอกต้นประดู่ มีสีเหลือง กลิ่นหอม ออกเป็นช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ตามง่ามใบ ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากอย่างประดู่บ้าน[8]
ผลต้นประดู่ มีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ผลใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก และมีขนปกคลุมทั่วไป การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
การขยายพันธุ์ของต้นประดู่
ต้นประดู่ใช้เมล็ด/ประดู่ป่าขยายพันธุ์ได้หลายวิธี ตั้งแต่การเพาะเมล็ด การเสียบยอด การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง เป็นต้น แต่วิธีที่นิยมกันโดยทั่วไปได้แก่ การใช้เมล็ดเพาะชำเป็นกล้าไม้ เนื่องจากเมล็ดจัดหาได้ง่าย การดูแลรักษากล้าไม้ทำได้ง่ายและสะดวก สามารถผลิตกล้าไม้ได้จำนวนมาก ๆ วิธีการก็ทำได้ง่ายไม่ซับซ้อน ประหยัดค่าใช้จ่าย เมล็ดที่ใช้เพาะควรเป็นเมล็ดจากผลที่เก็บมาจากต้นแม่ได้ที่คัดเลือกแล้วโดยตรง เก็บเมื่อผลแก่จัด
ธาตุอาหารหลักที่ต้นประดู่ต้องการ
–
ประโยชน์ของต้นประดู่
- เปลือก ให้สีย้อมผ้า ใช้ฟอกหนัง
- ผ่า และให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนังเนื้อไม้ประดู่ป่าใช้ในการก่อสร้างทั่ว ๆ ไป ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก ไม้ประดู่มีความถ่วงจำเพาะ 0.92 ความแข็ง 925 กิโลกรัม มีความแข็งแรง การดัด 1334 กก/ตร.ซม. การบีบ 720 กก/ตร.ซม. ซึ่งสามารถรับน้ำหนักได้มากเหมาะสำหรับทำคาน ทำตงในงานก่อสร้างได้ดี มีความทนทานตามธรรมชาติ (ทดลองปักดิน) มากกว่า 14 ปี
- ไม้ประดู่ป่ามีสีสวยงามสีแดดอมเหลือง เสี้ยนสน เป็นริ้ว ไสกบ ตกแต่งได้ดี เหมาะในการทำเฟอร์นิเจอร์ราคาแพง ทำเครื่องมือเครื่องใช้ เปลือกไม้ประดู่ใช้ย้อมการเป็นมงคล คนไทยโบราณ เชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นประดู่ไว้ประจำบ้านจะทำให้เกิดพลังแห่งความยิ่งใหญ่เพราะ ประดู่ คือ ความพร้อม ความร่วมือ ร่วมใจสามัคคี มีพลังเป็ฯอันหนึ่งอันเดียวกัน นอกจากนี้ดอกของประดู่ยังมีลักษณะที่ระดมกันบานเต็มต้นดูลานตา ดังนั้นคนโบราณจึงได้เลือกเอาต้นประดู่เป็นไม้ประจำกอง กองทัพเรือ และคนไทยโบราณยังเชื่ออีกว่า ส่วนของแก่นไม้ยังใช้เป็นศิลปะการดนตรี ที่สำคัญของคนพื้นเมืองในสมัยโบราณอีกด้วย คือใช้ทำเป็นเครื่องเสียงพวกระนาด นั่นก็หมายถึง ความแข็งแกร่ง แข็งแรง
- พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดชลบุรี โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของต้นประดู่
- รากต้นประดู่ ต้มน้ำดื่มรักษาโรคบิด(คนเมือง)
- เปลือกต้นประดู่ ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย (ม้ง)
- เนื้อไม้ประดู่ ใช้สร้างบ้าน(เมี่ยน,ลั้วะ,ขมุ,ไทลื้อ)
- เนื้อไม้ประดู่ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน ไม้กระดาน(ม้ง)
- เปลือกต้นประดู่ ต้มน้ำเดือดใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาล(คนเมือง)
- เปลือกไม้ประดู่ ต้มแล้วนำน้ำที่ได้ใช้ย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลแดง(เมี่ยน)
- แก่น รักษาคุดทะราด แก้ไข้ บำรุงกำลัง แก้พิษเบื่อเมา แก้ผดผื่นคัน และทำให้เลือดลมซ่าน
- ใบ พอกผี รักษาบาดแผล แก้ผดผื่นคัน
คุณค่าทางโภชนาการของต้นประดู่
–
การแปรรูปของต้นประดู่
–
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับต้นประดู่
References : www.bedo.or.th, www.forest.go.th
รูปภาพจาก : www.flickriver.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
One Comment