ต้นปลาไหลเผือก เป็นยาไม้รากเดียว มีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลที่หายาก

ต้นปลาไหลเผือก

ชื่ออื่นๆ : กรุงบาดาล (สุราษฎร์ธานี); คะนาง, ชะนาง (ตราด); ตรึงบาดาล (ปัตตานี); ตุงสอ, แฮพันชั้น (ภาคเหนือ); เพียก (ภาคใต้); หยิกบ่อถองหรือหยิกไม่ถึง, เอียนด่อน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); ไหลเผือก (ตรัง);หมุนขึ้น

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Ali’s Umbrella

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eurycoma longifolia Jack.

ชื่อวงศ์ : Simaroubaceae

ลักษณะของต้นปลาไหลเผือก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ยืนต้น สูง 4-6 เมตร ลำต้นตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ออกเป็นกระจุกบริเวณปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม. สีเขียวเข้ม ยอดและใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีม่วงแดง ผลเป็นผลสด รูปยาวรี ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง

ต้นปลาไหลเผือก
ต้นปลาไหลเผือก ลำต้นตรง ใบประกอบแบบขนนก

การขยายพันธุ์ของต้นปลาไหลเผือก

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ต้นปลาไหลเผือกต้องการ

ประโยชน์ของต้นปลาไหลเผือก

ต้นปลาไหลเผือก เป็นยาไม้รากเดียว ต้นปลาไหลเผือนกหรือโสมเทวดา หรือพญานาคราช มีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลที่หายาก และ เป็นสมุนไพรที่หมอสมุนไพรสมัยโบราณปิดเป็นความลับมาตลอด ผู้ที่รู้ก็เฉพาะหมอสมุนไพรไม่กี่คนที่ศึกษามาอยู่ในอาศรมฤาษีเท่านั้น เพราะต้นปลาไหลเผือกมีความเร้นลับมาก สมุนไพรทั้ง 4 ชื่อนี้ล้วนแต่มีฤทธิ์ทั้งนั้นซึ่งมีประวัติความเป็นมาในโบราณคดีของสมุนไพรหรือปลาไหลเผือก ในยุคต้นไม้เจริญ ต้นไม้ก็รับใช้ถือว่าเป็นยาสำหรับมนุษย์ให้หายจากโรคภัยได้อย่างไม่ต้องสงสัยพอยุคมนุษย์เจริญ ต้นไม้ก็ยังรับใช้มนุษย์เหมือนเดิม

ผลปลาไหลเผือก
ผลปลาไหลเผือก ผลสด รูปยาวรี ผลสดสีเขียว สุกเป็นสีแดง

สรรพคุณทางยาของต้นปลาไหลเผือก

รากปลาไหลเผือกตัวเสปิร์มดีและแข็งแรง มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนตัวอสุจิ ขนาด และความเร็วในการเคลื่อนที่ด้วย และ รากปลาไหลเผือกประกอบไปด้วย Superoxide dimutase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระนั้นคือความสามารถในการหยุดยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ที่จะเป็นโทษต่อร่างกายเรา และทำให้ชลอความชราลงได้

วิธีใช้
ต้มใส่น้ำครึ่งลิตร กินเช้า 1 แก้ว เย็น 1 แก้ว (กินเป็นน้ำร้อนจะเห็นผลไว) เติมน้ำทุกวัน ต้มเช้า ต้มเย็น จะไม่เสีย ให้ต้มแค่เดือด
โรคกระเพาะอาหาร ชงยาผงใส่น้ำเปล่า 1 แก้ว กินก่อนอาหารวันละ 3 แก้ว
ทาแก้พิษต่างๆ ปลาดุก ตะขาบ แมงป่อง ฝี ผดผื่นคัน ผสมกับน้ำมะนาวทาจะหาย
งูสวัด ผสมยาผงกับน้ำมะนาว ทารอบๆ แผลช้าๆ แล้วจะหายทันที (ต้มกินไง่พิษด้วย)
ปวดฟัน ใช้ยาผงอุดฟันที่ปวดแล้วอมไว้ 5 นาที จะหาย
กินของแสลง เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อาหารเป็นพิษ ไอเรื้อรัง อ่อนเพลีย เมาค้าง
ใช้ยาผงชงใส่น้ำอุ่น 1 แก้ว ดื่มจะหายทันที
เกร็ดเงิน ใส่มะนาวทา
หอบหืด ผสมยาผงใส่น้ำซาวข้าว กิน 1 แก้วหรือต้มกินเช้า-เย็น
ริดสีดวงจมูก ต้มกินเช้า-เย็น ครั้งละ 2 แก้ว
ริดสีดวงถาวร ต้มกิน เช้า- เย็น ครั้งละ 2 แก้ว ถ้าออกมาให้ใช้ยาทาด้วย ให้กินติดต่อกันจนหาย (ให้ลดเหล้าเบียร์) กรณีไม่มียาผงให้ใช้ยาตัวผู้

วิธีเก็บรักษา ให้ผึ่งแดด ผึ่งลม

คุณค่าทางโภชนาการของต้นปลาไหลเผือก

การแปรรูปของต้นปลาไหลเผือก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11236&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment