มะซาง
ชื่ออื่นๆ : มะซาง, ซาง, ขนุนนก (จันทบุรี) จิกเขา (ชุมพร,สุราษฏร์ฯ)จิกนม (สตูล) ยือราโต๊ะ (ปัตตานี)
ต้นกำเนิด : ภูมิภาคอินโดจีน
ชื่อสามัญ : –
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Madhuca pierrei (William) H.J.Lam
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ลักษณะของมะซาง
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 10–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ดและร่องลึก มียางสีขาว
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับกันดูเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปไข่กลับ ขนาด 5–10 × 12–21 เซนติเมตร โคนใบสอบและมักหยักเว้าเข้า ปลายใบป้าน หรือหยักเป็นติ่งเล็กน้อย แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1–2 เซนติเมตร
ดอก ดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งเหนือกลุ่มใบ ก้านช่อดอกยาวราว 3 เซนติเมตร ดอกย่อยสีขาวมีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 2 กลีบ กลีบดอกมีโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 6 กลีบ เกสรตัวผู้มี 12 อัน รังไข่มี 6 ช่อง
ผล เป็นผลกลม สีเขียวอมเหลือง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางราว 3 เซนติเมตร ปลายผลมีหลอดเกสรตัวเมียติดอยู่ ผลมีน้ำยางเหนียวสีขาวขุ่น เมื่อสุกมีรสหวาน รับประทานได้
การขยายพันธุ์ของมะซาง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะซางต้องการ
ประโยชน์ของมะซาง
- เมล็ด ให้น้ำมันประกอบอาหาร
- ผลสุก รับประทานได้
สรรพคุณทางยาของมะซาง
- ดอก มีกลิ่นหอมเย็น เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ
- แก่น มีรสหวานเย็น แก้คุดทะราด แก้เสมหะ
- ราก มีหวานเย็น ช่วยแก้โลหิตและกำเดา
คุณค่าทางโภชนาการของมะซาง
การแปรรูปของมะซาง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9971&SystemType=BEDO
https:// th.wikipedia.org
https:// www.internalaudit.cmru.ac.th