ต้นยาสูบ พืชมีพิษ เป็นสารเสพติดที่อันตรายต่อสุขภาพ

ต้นยาสูบ

ชื่ออื่นๆ : จะวั้ว (เขมร-สุรินทร์)

ต้นกำเนิด : ตอนกลางของทวีปอเมริกา

ชื่อสามัญ : Tobacco

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nicotiana tabacum Linn

ชื่อวงศ์ : Solanaceae

ลักษณะของต้นยาสูบ

ต้น ไม้ล้มลุก สูง 0.6-2 เมตร ตามลำต้นและยอดมีขนอ่อนปกคลุม ทุกส่วนของต้นมีต่อมน้ำยางเหนียว

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 30-60 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบเรียวสอบ ท้องใบและหลังใบมีขนปกคลุม ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย

ดอก เป็นดอกช่อออกที่ปลายยอด มีกลีบดอก สีชมพูปนขาว 5 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ปลายกลีบแหลม มีขนขาวปกคลุม กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม

ผล เป็นผลแห้ง รูปขอบขนาน ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีน้ำตาล แตกออกได้ ด้านในมีเมล็ดสีน้ำตาลจำนวนมาก

ต้นยาสูบ
ต้นยาสูบ ลำต้นและยอดมีขนอ่อนปกคลุม

การขยายพันธุ์ของต้นยาสูบ

ใช้เมล็ด/การเพาะกล้ายาสูบ

การเพาะกล้า  โดยเริ่มหว่านเมล็ดประมาณเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เมื่อกล้ามีอายุประมาณ 1 เดือน ถอนย้ายกล้าไปชำในแปลงใหม่อีกประมาณ 1 เดือน ก่อนนำไปปลูกในไร่ การเพาะกล้า การที่จะผลิตต้นกล้าให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรง จะต้องมีการเตรียมและทำแปลงเพาะกล้าที่ดีมาก่อน นับตั้งแต่การเลือกที่ดิน

ควรเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี ถ้าเป็นดินบุกเบิกใหม่ยิ่งดี หลังจากเตรียมดินยกเป็นแปลง (กว้าง 1 เมตร ยาว 11 เมตร) แล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติกและรมด้วยก๊าซเมทิลโบรไมด์ นานประมาณ 24-48 ชั่วโมง เพื่อกำจัดโรคแมลง และวัชพืชในดิน เมื่อเปิดผ้าพลาสติกออกแล้ว ผึ่งดินทิ้งไว้ 12-24 ชั่วโมง ใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 4-16-24 ในอัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อแปลง และใส่ยาฟูราดาน ๓ จี เพื่อป้องกันโรคใบหดในอัตรา ๒๕๐-๓๐๐ กรัมต่อแปลง แล้วกลับปุ๋ยและยาให้อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 1-2 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดยาสูบที่หว่านได้รับอันตรายจากปุ๋ยและยา การหว่านเมล็ด เนื่องจากเป็นเมล็ดที่มีขนาดเล็กมาก (เมล็ดยาสูบ 1 กรัม มีจำนวนประมาณ 10,000-12,000 เมล็ด)

ควรนำเมล็ดผสมขี้เถ้าในการหว่าน เพื่อให้กระจายทั่วแปลงหรือใส่เมล็ดลงในบัวรดน้ำ คนเมล็ดให้กระจายเข้ากับน้ำจนทั่วแล้วรดให้ทั่วแปลง โดยใช้เมล็ดแปลงละ 1.0-1.5 กรัม รดน้ำให้ชุ่มแล้วคลุมแปลงเพาะด้วยผ้าดิบเพื่อป้องกันแสงแดดในเวลากลางวัน และลดแรงกระแทกของน้ำฝน ในฤดูฝน ถ้าเป็นฤดูแล้งอาจใช้แกลบคลุมได้ การรดน้ำ รดน้ำวันละ 4 ครั้งจนกว่าเมล็ดจะงอก จึงค่อยๆ ลดลงเหลือวันละ 2-3ครั้ง การพ่นยาป้องกันโรคและแมลงจะต้องทำทุกสัปดาห์

หลังจากเมล็ดงอกแล้ว โรคที่สำคัญในแปลงเพาะได้แก่ โรคโคนเน่า และโรคแอนแทรกโนส สำหรับแมลงได้แก่ หนอน และแมลงหวี่ขาว งานอันดับแรกของการทำไร่ยาสูบ คือ การเพาะกล้ายาสูบ ต้นยาสูบในไร่จะเจริญเติบโตดี ต้องมาจากต้นกล้าที่สมบูรณ์ แข็งแรง เมื่อนำไปปลูกแล้วต้นกล้าตายน้อยที่สุด หรือไม่ตายเลย ถ้าต้นกล้าตายหลังจากปลูก 7-10 วัน ควรจะมีการปลูกซ่อมกล้า และไม่ควรจะปลูกซ่อมบ่อยๆ เพราะการซ่อมกล้าเพียงร้อยละ 10 จะทำให้คุณภาพลดลงได้ถึงร้อยละ ๕ ทั้งนี้เนื่องจากการเก็บใบยาสูบไปบ่ม ผู้เก็บมักจะเก็บทุกต้นเหมือนกันหมด ทำให้มีใบยาที่ไม่สุกติดเข้าไปบ่มด้วย ทำให้คุณภาพใบยาลดลง

ยาสูบเป็นพืชที่ต้องการน้ำฝนและความชุ่มชื้นในอากาศ ดังนั้นการปลูกยาในช่วงกลางถึงปลายฤดูฝน จึงจะได้ใบยาที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศสมัยก่อนชาวไร่จะปลูกยาสูบในนาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง ทำให้ใบยาแห้งที่ได้ขาดคุณภาพที่ดี การเพาะกล้า วิธีการปฏิบัติคล้ายๆ กับการเพาะกล้ายาสูบประเภทอื่นๆ โดยเริ่มหว่านเมล็ดประมาณเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เมื่อกล้ามีอายุประมาณ 1 เดือน ถอนย้ายกล้าไปชำในแปลงใหม่อีกประมาณ 1 เดือน ก่อนนำไปปลูกในไร่

ธรรมชาติของยาสูบแตกต่างจากพืชอื่น ใบของยาสูบมีสารประกอบไนโตรเจนหมู่หนึ่งที่เรียกว่า “แอลคาลอยด์” ซึ่งมีนิโคตินเป็นส่วนใหญ่นิโคตินเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัวของยาสูบ หรืออาจกล่าวได้ว่านิโคตินคือยาสูบ ต้นยาสูบจะผลิตสารนิโคตินที่รากแล้วส่งไปเก็บไว้ที่ใบ ดังนั้นถ้าต้นยาสูบมีรากมากก็มีแนวโน้มที่จะผลิตสารนิโคตินได้มากตามไปด้วย ใบยาเหล่านี้เมื่อเกิดการเผาไหม้ จะทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ อีกจำนวนมาก ทำให้เกิดกลิ่นสีและรสต่างๆ ความหอม และความฉุน ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของยาสูบ ใบยาแต่ละประเภทจะมีปริมาณสารประกอบเคมีที่ทำให้เป็นลักษณะเด่นแตกต่างกัน เช่น ใบยาบ่มไอร้อน (เวอร์ยิเนีย) มีปริมาณน้ำตาลสูง นิโคตินปานกลาง ใบยาเบอร์เลย์ มีปริมาณไนโตรเจนและนิโคตินสูง น้ำตาลต่ำ ใบยาเตอร์กิช มีปริมาณสารหอมระเหยสูง

ผลยาสูบ
ผลยาสูบ ผลเป็นผลแห้ง สีน้ำตาล

ธาตุอาหารหลักที่ต้นยาสูบต้องการ

ประโยชน์ของต้นยาสูบ

ใช้ส่วนใบนำมาสูบ

สรรพคุณทางยาของต้นยาสูบ

ใบของยาสูบมีสารประกอบไนโตรเจนหมู่หนึ่งที่เรียกว่า “แอลคาลอยด์” ซึ่งมีนิโคตินเป็นส่วนใหญ่นิโคตินเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะตัวของยาสูบ หรืออาจกล่าวได้ว่านิโคตินคือยาสูบ ต้นยาสูบจะผลิตสารนิโคตินที่รากแล้วส่งไปเก็บไว้ที่ใบ ดังนั้นถ้าต้นยาสูบมีรากมากก็มีแนวโน้มที่จะผลิตสารนิโคตินได้มากตามไปด้วย

ใบยาเหล่านี้เมื่อเกิดการเผาไหม้ จะทำให้เกิดสารประกอบต่างๆ อีกจำนวนมาก ทำให้เกิดกลิ่นสีและรสต่างๆ ความหอม และความฉุน ซึ่งแตกต่างกันไปตามประเภทของยาสูบ ใบยาแต่ละประเภทจะมีปริมาณสารประกอบเคมีที่ทำให้เป็นลักษณะเด่นแตกต่างกัน เช่น ใบยาบ่มไอร้อน (เวอร์ยิเนีย) มีปริมาณน้ำตาลสูง นิโคตินปานกลาง ใบยาเบอร์เลย์ มีปริมาณไนโตรเจนและนิโคตินสูง น้ำตาลต่ำ ใบยาเตอร์กิช มีปริมาณสารหอมระเหยสูง

ส่วนที่มีพิษ  ใบ จัดเป้นสารเสพติดที่ติดง่ายยิ่งกว่าแอลกอฮอลล์ จัดเป็นสารสงบประสาท ระวังความอยากอาหาร

สรรพคุณ : รักษาเหา หิด เป็นยาถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาโรคผิวหนัง แก้หวัด คัดจมูก ฉีดพ่นฆ่าแมลงและเพลี้ยต่างๆ ได้ผลดี

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • รักษาเหา – ใช้ยาฉุนหรือยาตั้ง (ใบยาสูบแก่ตากแห้ง) 1 หยิบมือ ผสมกับน้ำมันก๊าดประมาณ 3-4 ช้อนแกง ชะโลมทั้งน้ำและยาเส้นลงบนผมทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง แล้วสระให้สะอาด ทำติดต่อกัน 3-4 วัน
  • เป็นยาถอนพิษ รักษาแผลน้ำร้อนลวก – ใช้ยาเส้นหรือยาตั้ง 1 หยิบมือ คลุกกับน้ำมันมะพร้าวปิดบริเวณที่ถูกน้ำร้อนลวก จะช่วยถอนพิษ
  • แก้หวัดคัดจมูก – ใช้ใบยาอย่างฉุนจัดๆ ผสมกับปูนแดงและใบเนียม กวนเป็นยานัตถุ์
  • แก้หิดและโรคผิวหนัง – ใช้ยางสีดำๆ ในกล้องสูบยาของจีนใส่แต้มแผล แก้หิดได้ดีมาก ใช้เคี่ยวกับน้ำมันทารักษาโรคผิวหนังต่างๆ ได้ด้วย

คุณประโยชน์ทางยา ใช้น้อย การสูบบุหรี่โดยการเผาใบยานี้ ทำให้นิโคตินและอัลคาลอยด์อื่นๆ สลายตัว วัตถุเหล่านี้ทำให้เกิดเป็นพิษขึ้นในการสูบบุหรี่ มีหลายคนแสดงว่าการสูบบุหรี่ มีอำนาจกล่อมประสาท (Soothing) แต่ไม่ใช่เนื่องจากอำนาจของนิโคติน การสูบบุหรี่มากทำให้เจ็บคอและไอ เนื่องจากลำคอและหลอดลม อักเสบบวม ถ้าอาการแรงหน่อยจะทำให้หัวใจอ่อนและเต้นไม่สม่ำเสมอ และผ่อนสภาพประสาทส่วนกลาง ความจำไม่ดี มือสั่น หายใจอ่อน ความดันโลหิตลดลงต่ำ เหงื่อออกมาก แต่ถ้าเป็นคนสูบประจำ ก็จะไม่มีอาการเหล่านี้ เพราะร่างกายสามารถอ๊อกซิไดซ์นิโคตินได้พอควร คนที่สูบซิกาแรตวันละ 25 มวน จะต้องเสียสีของเม็ดโลหิตแดงไปประมาณ 25% ในคราวหนึ่ง นิโคตินเป็นแอลคาลอยด์ชนิดน้ำ มีอยู่ในใบของยาสูบประมาณ 7% ละลายง่ายในน้ำ แอลกอฮอล์ และอีเธอร์ ใช้มากในทางเกษตรกรรม ปรุงเป็นยาฉีดแมลงและเพลี้ยต่างๆ ได้ผลดี การผสม ใช้นิโคติน 1 ส่วน สบู่อ่อน 20 ส่วน ในน้ำ 2,000 ส่วน ยานี้มีพิษแรง ใช้ระวังถูกผิวหนังจะซึมเข้าไป เป็นพิษมาก

ดอกยาสูบ
ดอกยาสูบ ดอกสีชมพู

คุณค่าทางโภชนาการของต้นยาสูบ

การแปรรูปของต้นยาสูบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11168&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_22_5.htm
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment