ต้นลิ้นมังกร
ชื่ออื่นๆ : ลิ้นมังกร
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Bowstring Hemp, Devil Tongue, Mother-in-law’s Tongue, Snake Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sansevieria trifasciata
ชื่อวงศ์ : Dracaenaceae
ลักษณะของต้นลิ้นมังกร
ลิ้นมังกรเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี มีเหง้าทอดเลื้อยไปตามผิวดิน เห็นข้อปล้องชัดเจน ทุกส่วนของต้นอวบน้ำ เปราะหักง่าย มีใบเดี่ยว ออกเวียนสลับรอบต้น หรือเรียงสลับระนาบเดียว รูปใบมีหลายแบบ ทั้งรูปใบหอก รูปแถบกว้าง รูปไข่กลับ รูปช้อน รูปรี และเป็นแท่งกลมยาว ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 3 เซนติเมตรจนยาวกว่า 1 เมตร แผ่นใบหนาอวบน้ำ ขอบใบเรียบเป็นสันแข็งหรือเป็นคลื่น มีสีสันและลวดลายแตกต่างกัน บางชนิดมีเส้นใยเหนียวที่ใช้ทำเชือก
ช่อดอกออกจากซอกกาบใบ มักชูสูงพ้นพุ่มใบ มีหลายแบบ ทั้งช่อเชิงลด (spike) ช่อกระจะ (raceme) ช่อกระจะแยกแขนง (racemose panicle) บางชนิดเป็นช่อกระจุกที่โคนต้น แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกสีขาวถึงสีขาวอมชมพู มีวงกลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 กลีบบานจากล่างขึ้นบนในช่วงเย็นถึงช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น และมีกลิ่นหอม ผลมีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม ภายในมี 1 – 2 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของต้นลิ้นมังกร
แยกหน่อ, ปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ต้นลิ้นมังกรต้องการ
ประโยชน์ของต้นลิ้นมังกร
ใช้เป็นไม้ประดับ ช่วยฟอกอากาศและสามารถกรองสารพิษต่าง ๆ โดยเฉพาะถ้าวางไว้ในห้องนอนจะปล่อยออกซิเจนในเวลากลางคืน ช่วยให้หายใจได้ดีขึ้นขณะนอนหลับ
สรรพคุณทางยาของต้นลิ้นมังกร
ใบใช้ตำละเอียด แก้พิษตะขาบ แมงป่อง
คุณค่าทางโภชนาการของต้นลิ้นมังกร
การแปรรูปของต้นลิ้นมังกร
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11184&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
2 Comments