ต้นสกุณี เปลือกมีคุณสมบัติในการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นยาบำรุงหัวใจ

สกุณี

ชื่ออื่นๆ : สกุณี สัตคุณี (ราชบุรี) ขี้มอด (นครปฐม) ตาโหลน (สตูล) ตีนนก (จันทบุรี ตราด) ประคำขี้ควาย (ภาคใต้) เปียแคร้ (เขมร-จันทบุรี) แหนแดง (ภาคเหนือ) แฮ้น (นครสวรรค์ ชุมพร).

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia calamansanai (Blanco) Rolfe

ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะของสกุณี

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-30 ม. ผลัดใบ เรือนยอดแผ่แบน มักมีพูพอนขนาดเล็ก กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม หรือ ค่อนข้างเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตื้นๆ

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนสลับกัน รูปไข่กลับแคบ ๆ หรือ รูปรีกว้าง กว้าง 3-8 ซม. ยาว 9-18 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบแคบเป็นรูปลิ่ม เนื้อใบค่อนข้างหนาคล้ายแผ่นหนัง หรือ บางคล้ายกระดาษ ด้านบนมักเป็นมันเงา มีปุ่มปมเล็ก ๆ บนผิวใบทั้งสองด้าน ก้านใบ ยาว 1-4 ซม. มีขนนุ่ม หรือ เกลี้ยง มักมีต่อมหนึ่งคู่ อยู่ตั้งแต่กึ่งกลางก้านใบถึงโคนใบ

ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 8-16 ซม. ขนนุ่ม ไม่มีก้านดอกย่อย เป็นดอกสมบูรณ์เพศ วัดผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 มม. มีกลิ่นเหม็น กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกัน ตอนล่างเป็นรูปท่อยาว 1-2 มม. ตอนบนแผ่เป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยม ยาว 1 มม. ด้านนอกมีขน ไม่มีกลีบดอก; ก้านเกสรผู้ยาว 2-2.5 มม. ท่อเกสรเมียยาว 1.5 มม.

ผล เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกหนา 2 ปีก มักมีเส้นปีก รูปร่างและขนาดผลแตกต่างกัน กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-8 ซม.

ต้นสกุณี
ต้นสกุณี เปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตื้น
ใบสกุณี
ใบสกุณี รูปรีกว้าง ปลายใบเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของสกุณี

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่สกุณีเป้าต้องการ

ประโยชน์ของสกุณี

  • ไม้ใช้ก่อสร้างในร่ม
  • เมล็ดรับประทานได้
ดอกสกุณี
ดอกสกุณี เป็น ขนนุ่ม ไม่มีก้านดอกย่อย ออกเป็นช่อตามง่ามใบ

สรรพคุณทางยาของสกุณี

เปลือก มีคุณสมบัติในการรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นยาบำรุงหัวใจ

ผลสกุณี
ผลสกุณี เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกหนา 2 ปีก

คุณค่าทางโภชนาการของสกุณี

การแปรรูปของสกุณี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9970&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment