ต้นสมพง ไม้สมพง กะพง เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้าน

สมพง

ชื่ออื่นๆ : ขี้พร้า (ยะลา) โป่งสาว (ปัตตานี) กะปุง, กะพง (ภาคกลาง ภาคใต้)

ต้นกำเนิด :  พบตามป่าดิบชื้น

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tetrameles nudiflora R.Br.

ชื่อวงศ์ : DATISCACEAE

ลักษณะของสมพง

ต้น  ต้นสมพงเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูงประมาณ 20 – 40 เมตร เปลาตรง โคนเป็นพูพอนขนาดใหญ่ อาจสูงถึงประมาณ 2 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกสีเทาอมชมพู เรียบเป็นมัน หนามาก เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพูไม่มีแก่น กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบปรากฏชัด

ต้นสมพง
ต้นสมพง ลำต้นเปาตรง เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู

ใบ  ใบเดี่ยว ลักษณะป้อม รูปหัวใจ หรือรูปข้อเหลี่ยมกลายๆ ขนาด 9-10 x 9-12 ซม.โคนใบกว้างและหยักเว้า 3 แฉก ขอบหยักถี่ เนื้อค่อนข้างบาง หลังใบมีขนสาก หลังใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ท้องใบมีขนนุ่ม

ใบสมพง
ใบสมพง ใบป้อม รูปหัวใจ ขอบหยักถี่ เนื้อค่อนข้างบาง หลังใบมีขนสาก

ดอก  สีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีแขนงมาก กลีบรองกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 4 แฉก เกสรผู้มี 4 อัน อยู่ตรงข้ามกับแฉก ดอกเพศเมียออกเป็นช่อยาวๆ ตามปลายกิ่งห้อยย้อยลงไม่แตกแขนง ช่อดอกยาว 15-30 ซม. กลีบรองกลีบดอกมี 4 กลีบ ไม่มีกลีบดอก รังไข่มี 1 ช่อง และมีไข่อ่อนมาก  ออกดอกระหว่างเดือนธันวาคม ถึงมกราคม

ดอกสมพง
ดอกสมพง สีเขียวอ่อนหรือเหลืองอ่อน ช่อดอกมีแขนงมาก

ผล  มีขนาดเล็ก ผิวแข็ง ปลายยังคงมีกลีบรองกลับดอกปรากฏอยู่ เมื่อแก่จัดตอนปลายจะแตกออกจากกัน ผลออกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

การขยายพันธุ์ของสมพง

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่สมพงต้องการ

ประโยชน์ของสมพง

  • ไม้สมพง เนื้อไม้ใช้ในการสร้างบ้าน
  • ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต เรือขุด หีบใสของ ไม้ขีดไฟ ไม้จิ้มฟัน ไม้บาง ไม้อัด เยื่อกระดาษ หีบศพ เครื่องเรือน และของเด็กเล่น
  • นิยมใช้ทำเรือแคนู

สรรพคุณทางยาของสมพง

คุณค่าทางโภชนาการของสมพง

การแปรรูปของสมพง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.srdi.yru.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

One Comment

Add a Comment