ต้นหว้า ผลมีรสเปรี้ยวและฟาด

ต้นหว้า

ชื่ออื่นๆ : หว้าป่า, หว้าขาว, หว้าขี้นก, หว้าขี้แพะ แต่สำหรับชาวฮินดูจะเรียกลูกหว้านี้ว่า “จามาน” หรือ “จามูน”

ต้นกำเนิด : ประเทศบังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ปากีสถาน ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

ชื่อสามัญ : Jambolan plum, Java plum, Jambul

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium cumini (L.) Skeels (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Caryophyllus jambos Stokes, Eugenia cumini (L.) Druce)

ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE

ลักษณะของต้นหว้า

ต้น เป็นไม้ยืนต้นสูง 10-35 เมตร เปลือกต้นค่อนข้างเรียบ สีน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ

ดอก ดอกช่อ สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกที่ซอกใบหรือปลายยอด ฐานรองดอกเป็นรูปกรวย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ออกดอกเดือน ธันวาคม-มกราคม

ผล ผลเป็นผลสด รูปรีแกมรูปไข่ ฉ่ำน้ำ มีสีม่วงดำ ผิวเรียบมัน มีขนาด 1 เซนติเมตร ผลแก่ ราวเดือนพฤษภาคม เมล็ด มี 1 เมล็ด รูปไข่

ต้นหว้า
ต้นหว้า ใบเดี่ยว รูปรี มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ
ดอกหว้า
ดอกหว้า ดอกช่อสีเหลืองอ่อน

การขยายพันธุ์ของต้นหว้า

ใช้เมล็ด/หว้าจะขึ้นได้ดีกับดินทุกชนิด ชอบแสงแดดจัดและความชืนปาน

ธาตุอาหารหลักที่ต้นหว้าต้องการ

ประโยชน์ของต้นหว้า

  • เนื้อไม้ ใช้ทำสิ่งปลูกสร้างที่อยู่ในร่ม
  • ผลสุก รับประทานได้
  • เปลือก ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมฝ้าย
  • ชาวกะเหรี่ยงนำยอดอ่อนไปวัดพร้อมธูปเทียนเพื่อใช้บูชาพระ เปลือกต้นใช้ย้อมผ้าได้สีม่วง
  • พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดเพชรบุรี ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงโปรดพระราชทานกล้าไม้มงคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด นำไปปลูกเป็นศิริมงคลในวันเริ่มโครงการ ในงานรณรงค์โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
  • ต้นหว้าเป็นไม้มงคลในเรื่องของความสำเร็จและชัยชนะอีกด้วย
ผลหว้า
ผลหว้า ผลกลม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีม่วงดำ

สรรพคุณทางยาของต้นหว้า

  • เปลือกต้น ต้มน้ำดื่มแก้บิด อมแก้ปากเปื่อย
  • ผลดิบ แก้ท้องเสีย
  • เมล็ด มีสารช่วยลดน้ำตาลในเลือด แก้ท้องเสีย ถอนพิษจากเมล็ดแสลงใจ
  • ชาวโอรังอัซลีในรัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย ใช้รากนำไปต้มกับน้ำและดื่มเพื่อชูกำลัง
  • ผลสุก ใช้ทำเครื่องดื่ม มีรสเปรี้ยวอมฝาด สามารถนำไปทำน้ำผลไม้ ไวน์เป็นเครื่องดื่มที่ให้สีม่วงกินแก้ท้องร่วงและบิด

คุณค่าทางโภชนาการของต้นหว้า

การแปรรูปของต้นหว้า

สามารถนำไปเป็นอาหารเช่น ทำไวน์ ทำน้ำส้ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9183&SystemType=BEDO
www.th.wikipedia.org, สารานุกรมเสรี, เว็บไซต์สมุนไพรดอทคอม

5 Comments

Add a Comment