ต้นเกด
ชื่ออื่นๆ : ราชายตนะ, ชีริกา, ครินี, ไรนี (ฮินดู) เกด (กลาง)
ต้นกำเนิด : อินเดีย พม่า ไทย
ชื่อสามัญ : Milkey Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara hexandra (Roxb.) Dubard
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ลักษณะของต้นเกด
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอ โดยเฉพาะกิ่งมักหักงอเป็นข้อศอก ทุกส่วนมียางขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบ เนื้อใบหนาเกลี้ยง หลังใบสีเขียวแก่เป็นมัน ท้องใบสีขาวหรือนวล
ดอก ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม
ผล ผลมีเนื้อหนึ่งถึงหลายเมล็ด รูปทรงรีหรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายผลมีติ่งแหลม ผลสุกสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่ม กินได้ มี 1–2 เมล็ด เมล็ดแข็ง รูปไข่


การขยายพันธุ์ของต้นเกด
ใช้เมล็ด
สภาพที่เหมาะสม สภาพดินทราย หรือดินปนหิน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง กลางแจ้ง
กระจายพันธุ์จากอินเดีย ศรีลังกา ถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนตอนใต้และเวียดนาม
ธาตุอาหารหลักที่ต้นเกดต้องการ
ประโยชน์ของต้นเกด
- ผล รับประทาน ทำให้ชุ่มคอ ลดอาการกระหายน้ำ
- ผลสุกเป็นผลไม้
- เนื้อไม้ ต่อเรือและทำลูกสลักใช้ในกาต่อเรือ
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
(เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงโปรดพระราชทานกล้าไม้มงคลให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด นำไปปลูกเป็นศิริมงคลในวันเริ่มโครงการ ในงานรณรงค์โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ )


สรรพคุณทางยาของต้นเกด
- เปลือก แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้เหงือกอักเสบ แก้ไข้ ฝาดสมาน บำรุงกำลัง เป็นยาต้านพิษ
- ผลรับประทานเป็นยาฝาดสมาน บำรุงกำลัง
- ผลและเมล็ด ทำให้ผิวหนังอ่อนนุ่ม
- เมล็ดบรรเทาอาการระคายเคือง รักษาแผลเปื่อย แผลพุพอง
คุณค่าทางโภชนาการของต้นเกด
การแปรรูปของต้นเกด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10546&SystemType=BEDO
www.flickr.com