ต้นเหลี่ยม
ต้นเหลี่ยม ชื่อเรียกอื่น หมากเหลี่ยม หมักเหลี่ยม มะกอกเกลื้อน เป็นต้น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Canarium subulatum Guill. พบทั่วไปในป่าเบญจพรรณ ป่าผลัดใบผสมป่าดิบ แล้งและทุ่งหญ้า ชอบขึ้นในที่แล้ง เป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาล ลำต้นมีน้ำยางขาวหรือมีน้ำใสๆ แต่พอแห้งออกสีดำ กะพี้สีเหลืองอ่อนแก่นสีน้ำตาล ใบเรียงสลับเวียนกันอยู่เป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง เนื้อใบหนา โคนใบเบี้ยวปลายใบค่อนข้างสอบ ขอบใบหยักถี่และมักเป็นคลื่นเว้าแหว่ง ท้องใบมีขนสากหรือนุ่มหนาและมีสีขาวมากกว่าหลังใบ
ประโยชน์ของต้นเหลี่ยม
- ผลสดมีรสฝาดเปรี้ยวใช้รับประทานได้ มะกอกเกลื้อนจัดเป็นพืชป่าเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ประชาชนสามารถเก็บผลมาขายได้ โดยการนำผลมาดองและแช่อิ่มแทนลูกหนำเลี้ยบรับประทานหรือจะใช้ผลแก่รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริกก็ได้
- เนื้อในเมล็ดสีขาวมีรสมัน ใช้รับประทานได้
- ยางสดใช้เป็นเครื่องหอม
- เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ทำโครงสร้างต่าง ๆ ของบ้านได้ เช่น หน้าต่าง ประตู กระดาน พื้น ฝา เครื่องมือเครื่องใช้ภายในร่ม ทำก้านและกลัดไม้ขีดไฟ ทำพิณ ฯลฯ (ในปัจจุบันไม้มะกอกเกลื้อนจัดเป็นไม้หวงห้ามธรรมดา ประเภท ก.
- ต้นมะกอกเกลื้อนเป็นไม้โตเร็ว จึงนิยมนำมาปลูกเป็นไม้เบิกนำในการปลูกป่า เนื่องจากเป็นไม้เนื้ออ่อน กิ่งหักง่าย และก่อให้เกิดโพรงเมื่อฝนตกลงมา ทำให้น้ำฝนมาขังอยู่ในโพรงตลอดปี ชาวอีสานจะเรียกโพรงนี้ว่า “สร้างนก” ซึ่งหมายถึงแอ่งน้ำสำหรับนก ที่ทำให้นกมีน้ำกินตลอดทั้งปี นอกจากนี้หมอยาบางท่านยังใช้น้ำที่ได้จาก “สร้างนก” ไปทำเป็นน้ำกระสายยาอีกด้วย
สรรพคุณทางยาของต้นเหลี่ยม
- แก่น แก้โลหิตระดูพิการ แก้ประดง
- ยาง ทาแก้ผื่นคัน เป็นเครื่องหอม
- ผล แก้ไอ ขับเสมหะ
- เนื้อในเมล็ด สีขาวรับประทานได้ มีรสมัน
- แก่น แก้โลหิตระดูพิการ แก้ประดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10216&SystemType=BEDO
http://greenarea.deqp.go.th
https://www.flickr.com