ต้นแก้ว พรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ดอกสีขาวมีกลิ่นหอม

ต้นแก้ว

ชื่ออื่นๆ : แก้ว, แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด : จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน

ชื่อสามัญ : oramgjessamine

ชื่อวิทยาศาสตร์ : marrayapanuicata

ชื่อวงศ์ : RUTACEAE

ลักษณะของต้นแก้ว

ลักษณะ แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 – 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 – 2 เมล็ด

ต้นแก้ว
ต้นแก้ว ยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม ดอกสีขาว กลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของต้นแก้ว

ใช้เมล็ด/การปลูกแบ่งเป็น 2 วิธี
การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 – 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 – 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไปแสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

ธาตุอาหารหลักที่ต้นแก้วต้องการ

ประโยชน์ของต้นแก้ว

ด้านเนื้อไม้ เนื้อไม้ที่แปรรูปใหม่สีเหลืองอ่อน พอนานเข้ากลายเป็นสีเหลืองแกมเทา เสี้ยนอาจตรงหรือสน มักมีลายพื้นหรือลายกาบในบางต้น เนื้อละเอียดสม่ำเสมอเป็นมันเลื่อย ผ่า ไส ขัด ตบแต่งได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือนเครื่องกลึง ด้ามเครื่องมือ ไม้บรรทัด ด้ามปากกา มีลายสวยงาม กรอบรูป ภาชนะ ซอ ด้ามเครื่องมือต่างๆ

ด้านภูมิสถาปัตย์  เป็นไม้พุ่มที่มีทรงตัดแต่งได้สวยงาม  ใบเขียวตลอดปีและมีดอกที่สวยงาม  กลิ่นหอมแรกมากใช้ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม

สรรพคุณทางยาของต้นแก้ว

ก้านและใบ – รสเผ็ด สุขุม ขม ใช้เป็นยาชาระงับปวด แก้ผื่นคันที่เกิดขึ้นจากความชื้น แก้แผลเจ็บปวด
เกิดจากการกระทบกระแทก ต้มอมบ้วนปาก แก้ปวดฟันโดยใช้ใบสดตำพอแหลกแช่เหล้าโรง ในอัตราส่วน 15 ใบย่อยหรือ 1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร เอาน้ำจิ้มบริเวณที่ปวด
ราก – รสเผ็ด ขม สุขุม ใช้แก้ปวดเอว แก้ผื่นคันที่เกิดจากชื้นและที่เกิดจากแมลงกัดต่อย
ใบ – ขับพยาธิตัดตืด แก้บิด แก้ท้องเสีย
ราก, ใบ – เป็นยาขับประจำเดือน
ดอก, ใบ – ช่วยย่อย แก้ไขข้ออักเสบ แก้ไอ เวียนศรีษะ
ผลสุก – รับประทานเป็นอาหารได้

คุณค่าทางโภชนาการของต้นแก้ว

การแปรรูปของต้นแก้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9700&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment