ต้นแต้ว เนื้อไม้ ใช้ประโยชน์ในการทำเสาเข็ม เผาถ่านและทำเชื้อฟืน

แต้ว

ชื่ออื่นๆ : แต้วคา (ยะลา), ต้าว (นราธิวาส) 

ต้นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Taeo 

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum maingayi Dyer.

ชื่อวงศ์ : HYPERICACEAE 

ลักษณะของแต้ว

ต้น  เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น สูง 20 ม. หรืออาจจะสูงได้ถึง 35 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงเปลือกสีน้ำตาลเทาคล้ำ  แตกสะเก็ด  เปลือกชั้นในสีน้ำตาล  มียางสีน้ำตาลแกมเหลืองซึมออกมาเป็นเม็ด

ใบ ใบมีสีเขียว เป็นมัน ออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน รูปรีถึงรูปขอบขนาน กว้าง 5-7 ซม.  ยาว10-15 ซม. ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบเป็นติ่งแหลมถึงเรียวแหลม

ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีชมพู กลีบรองดอกหนาเป็นรูปช้อนสีม่วงคล้ำ กลีบดอกบางเป็นสีขาวหรือสีชมพูเรื่อ ๆ เกสรผู้มีมากออกเป็นกระจุกอยู่กลางกลีบดอก

ผล รูปกระสวย  กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม.

ต้นแต้ว
ต้นแต้ว เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง

การขยายพันธุ์ของแต้ว

ใช้เมล็ด/การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่แต้วต้องการ

ประโยชน์ของแต้ว

  • เนื้อไม้ ใช้ประโยชน์ในการทำเสาเข็ม เผาถ่านและทำเชื้อฟืน
  • เปลือก ใช้ทำสีย้อมผ้า
  • ใบอ่อน รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว
ดอกแต้ว
ดอกแต้ว ดอกสีชมพู กลีบรองดอกหนาเป็นรูปช้อนสีม่วงคล้ำ

สรรพคุณทางยาของแต้ว

คุณค่าทางโภชนาการของแต้ว

การแปรรูปของแต้ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10756&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment