ถอบแถบเครือ
ชื่ออื่นๆ : เครือไหลน้อย (เชียงราย) เครือหมาว้อ (หนองคาย) ขางขาว ขางแดง ขางน้ำครั่ง ขี้อ้ายเครือ (ภาคเหนือ) กะลำเพาะ จำเพาะ ทอบแทบ (ภาคกลาง) ตองตีน ลำเพาะ ไม้ลำเพาะ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) ลาโพ หมากสง (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด : พบตามป่าดิบ หรือ ป่าผลัดใบ ตามริมฝั่งน้ำ ที่รกร้างว่างเปล่า
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Connarus semidecandrus Jack
ชื่อวงศ์ : CONNARACEAE
ลักษณะของถอบแถบเครือ
ต้น ไม้เถา หรือ ไม้พุ่มเลื้อย บางทีเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก กิ่งก้านเมื่อยังอ่อนอยู่มีขนนุ่ม
ใบ เป็นใบประกอบ เรียงสลับกัน มีใบย่อย 3-7 ใบ ออกกึ่งตรงข้ามกัน รูปรี หรือ รูปหอก กว้าง 2-9 ซม. ยาว 4-25 ซม. ปลายใบทู่ หรือ เรียวแหลม โคนใบสอบแคบ หรือ มน ขอบใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างหนามันคล้ายแผ่นหนัง ด้านล่างบางทีมีตุ่มเล็กน้อยเส้นใบมี 4-12 คู่ ค่อนข้างโค้งและบรรจบกันที่ขอบใบ
ดอก ออกเป็นช่อแตกกิ่งก้านกระจายที่ปลายยอดและใกล้ ๆ ปลายยอด ช่อดอกยาวถึง 35 ซม. มีขนสีน้ำตาลปนเหลือง หรือ สีสนิมเหล็ก กลีบรองกลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่ หรือ รูปรี ยาว 2-4 มม. ปลายทู่ หรือ แหลม มีเส้นกลีบ 2 เส้น ด้านนอกมีขนนุ่ม ด้านในเกลี้ยง กลีบดอกรูปหอก หรือ รูปขอบขนานแคบ ยาว 3-7 มม. ปลายทู่ ด้านนอกเกลี้ยง ยกเว้นที่ขอบและที่ปลาย มักมีต่อม เกสรผู้มี 10 อัน ยาว 5 อัน สั้น 5 อัน รังไข่มี 5 ช่อง มีขนนุ่มหนาแน่น
ผล กว้าง 1-2 ซม. ยาว 1.5-3.5 ซม. โคนมักสอบแคบเข้าหากัน เปลือกบาง ด้านนอกเกลี้ยง ด้านในมีขนนุ่ม แก่จัดปริแยกออกจากกันทางด้านข้าง ก้านยาว 5-15 มม.
เมล็ด มี 1 เมล็ด โคนมีเนื้อสีเหลืองหุ้ม
การขยายพันธุ์ของถอบแถบเครือ
การเพาะเมล็ด, การปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ถอบแถบเครือต้องการ
ประโยชน์ของถอบแถบเครือ
ใบอ่อน ยอดอ่อนและดอก รับประทานเป็นผักสดหรือลวก ต้ม รับประทานกับน้ำพริก (ยอดอ่อนมีรสฝาดมาก)
สรรพคุณทางยาของถอบแถบเครือ
- ใบ ต้มน้ำดื่มรักษาโรคเจ็บหน้าอก
- ใบและเถา เป็นยาระบายขับพยาธิ
- ทั้งต้นและใบ เป็นยาระบาย แก้พิษตามซางและไข้ ขับพยาธิ
- เครือต้มน้ำดื่มใช้เป็นยาบำรุงกำลัง
- รากใช้ตำพอกแก้หิด
คุณค่าทางโภชนาการของถอบแถบเครือ
การแปรรูปของถอบแถบเครือ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10752&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com