ทรงบาดาล
ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กบ้าน (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กหวาน (ขอนแก่น) สะเกิ้ง, สะโก้ง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ทรงบาดาล Kalamona, Scrambled Eggs
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna surattensis (Burm.f.) H.S.Irwin & Barneby.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ลักษณะของทรงบาดาล
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร ทรงพุ่มมีการแตกกิ่งก้านสาขามากและแน่นทึบ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อย 5-10 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. โคนและปลายมน หลังใบเรียบ ท้องใบมีขนประปราย
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอดของลำต้น มีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีสีเหลือง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร
ผล ผลเป็นฝักแบน ๆ ออกเป็นช่อ ฝักเป็นคลื่น
การขยายพันธุ์ของทรงบาดาล
ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ดปลูกได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่ทรงบาดาลต้องการ
ประโยชน์ของทรงบาดาล
เป็นไม้มงคล ปลูกประดับสวน ปลูกประดับตามแนวรั้ว ดอกมีสีสันสวยงาม
สรรพคุณทางยาของทรงบาดาล
รากรับประทานเป็นยาถอนพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดงไข้ (ไข้ซ้ำ) แก้สะอึก เนื่องจากกระเพาะอาหารขยายตัว
คุณค่าทางโภชนาการของทรงบาดาล
การแปรรูปของทรงบาดาล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11171&SystemType=BEDO
www.flickr.com