ทัง
ชื่ออื่นๆ : กะตา, มือแด, มือแด็ง, มือแต, กายูกะตา, กายูมือแด (มลายู-ภาคใต้) กะทัง, ทัง, ทังใบใหญ่ (ภาคใต้) ทังทอง (สุราษฎร์ธานี) มะดัง (นราธิวาส) สังต้ง (ยะลา)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Litsea grandis Hook.f.
ชื่อวงศ์ : Lauraceae
ลักษณะของทัง
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 18-25 เมตร เป็นไม้ยืนต้นที่ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ เปลือกสีเทาอมน้ำตาล หรือสีน้ำตาลเข้มเป็นตุ่มขรุขระ (ตามส่วนอ่อน ๆ มีขนสีเทาหนาแน่น) ลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองถึงน้ำตาลแกมเหลืองสีจะเข้มขึ้นเมื่อทิ้งไว้นาน ๆ เสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างหยาบ เป็นมันอ่อน ผึ่งแห้งได้ง่ายและเสื่อมเสีย
ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมนแกมรูปไข่กลับ เรียงสลับกัน โคนใบเบี้ยวหรือค่อม ท้องใบมีขนนุ่มหนาแน่น หลังใบเกลี้ยง
ดอก ดอกสีเหลืองอ่อน ๆ ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบของกิ่งเล็ก หรือเหนือรอยแผลใบ
ผล ผลกลม รี เกลี้ยง ออกเป็นพวงตามกิ่ง
การขยายพันธุ์ของทัง
ใช้เมล็ด
ลักษณะดินที่ใช้ปลูกเป็นดินร่วนปนทราย (sandy loam) ระดับผิวดินลึกประมาณ 15-30 ซม. มีค่า ph ประมาณ 4.6 ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200-2,000 มม.ต่อปี การเจริญเติบโตของไม้ทัง เมื่ออายุ 3 ปี ปรากฏว่า มีการเจริญเติบโตทางความสูงเฉลี่ย 1.13 เมตร ความโตเฉลี่ย 1.75 ซม. และมีอัตราการรอดตาย 67%
ธาตุอาหารหลักที่ทังต้องการ
ประโยชน์ของทัง
- เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องมือ ต่อเรือ ทำเรือมาด ทำหีบศพ และหีบใส่ของ ครก สาก กระเดื่อง เกวียน ทำหก หวี พานท้ายและรางปืน กระเบื้องไม้
- เมล็ด ให้น้ำมันเรียกว่า “ทังออยล์ (Tung oil) หรือ ทังอิ๊ว” ใช้ทำน้ำมันใส่ผมบำรุงรากผม
สรรพคุณทางยาของทัง
–
คุณค่าทางโภชนาการของทัง
การแปรรูปของทัง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10448&SystemType=BEDO
www.flickr.com