ทานตะวัน ดอกไม้สีเหลือง ปลูกง่ายและโตเร็ว

ทานตะวัน

ชื่ออื่นๆ : ทานตะวัน บัวผัด(พายัพ)

ต้นกำเนิด : อเมริกากลาง

ชื่อสามัญ : Common Sunflower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus

ชื่อวงศ์ : Compositae

ลักษณะของทานตะวัน

ต้น ทานตะวันเป็นพืชปีเดียว ลักษณะของลำต้นจะตรง สูงประมาณ 3-4 ฟุต แต่ถ้าปลูกในถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจสูงได้ถึง 6 ฟุต ใบจะออกสลับกัน

ใบ ลักษณะของใบกลมรีกว้างประมาณ 4-8 นิ้ว ยาว 1 ฟุต ขอบใบจะเป็นรอยจักฟันเลื่อย ปลายใบแหลม

ดอก ดอกนั้นจะมีขนาดใหญ่ ดอกบานเต็มที่โตประมาณ 5-10 นิ้ว มีสีเหลืองสด ตรงกลางดอกจะมีเกสรเป็นวงเกือบเท่าตัวดอก กลีบดอกจะบานแผ่เป็นวงกลมทำให้เกสรดอกเด่นชัดขึ้น

ผล ผลและเมล็ดเจริญมาจากรังไข่ของดอกย่อยวงใน เมื่อดอกได้รับการผสมเกสร โคนกลีบดอกที่เชื่อมติดกันจะพองออกเป็นกระเปาะ และเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีเขียวอ่อน รังไข่จะเจริญเป็นผล สีของรังไข่จะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเทาและดำ ทุกส่วนที่อยู่เหนือรังไข่จะหลุดร่วง ช่อดอกทานตะวันที่ผ่านการผสมเกสรและติดเมล็ดช่อดอกจะมีขนาดใหญ่ขึ้น

ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้สีเหลือง ดอกใหญ่กว่าดอกรักเร่เป็นที่สะดุดตามาก นิยมปลูกเป็นแปลง เป็นไม้ที่ปลูกง่ายและโตเร็ว เมื่อออกดอกแล้วดอกจะหันไปทางทิศตะวันออก เป็นการทานตะวัน ไม่หันไปทางทิศอื่นจึงได้ชื่อว่า ดอกทานตะวัน

ต้นทานตะวัน
ลำต้นจะตรง สูงประมาณ 3-4 ฟุต ใบจะออกสลับกัน

การขยายพันธุ์ของทานตะวัน

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ทานตะวันต้องการ

ทานตะวันเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด
ทานตะวันขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี
ต้องการน้ำปานกลาง

ประโยชน์ของทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันยังมีไขมันสูงด้วย แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการรับประทานไขมันชนิดนี้ในปริมาณที่พอดี และรับประทานทดแทนอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวหรือไขมันทรานส์สูง อาจมีส่วนช่วยในการบำรุงหัวใจ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ลดความดันโลหิต ตลอดจนลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลได้

ดอกทานตะวัน
ดอกมีขนาดใหญ่ มีสีเหลืองสด ตรงกลางดอกมีเกสรเป็นวงเกือบ

สรรพคุณทางยาของทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันและน้ำมันทานตะวันยังอุดมไปด้วยคุณค่าทางสารอาหาร และเชื่อกันว่าอาจมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ช่วยลดระดับไขมันคอเลสเตอรอล ลดความดันโลหิต บรรเทาการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาการติดเชื้อราที่เท้า เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันนั้น ประกอบไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าหลายชนิด เช่น มีทองแดง แมงกานีส และซีลีเนียมในปริมาณมาก มีวิตามินอี วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 กรดโฟลิก ธาตุเหล็ก ใยอาหาร และโปรตีน เป็นต้น

การแปรรูปของทานตะวัน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9298&SystemType=BEDO

3 Comments

Add a Comment