ตานนกกด
ชื่ออื่นๆ : กะโรงแดง หมาตายทากลาก (ตะวันออก) จันนกกด (นครราชสีมา) ช้างน้าว (ราชบุรี นครราชสีมา) ตานกกดน้อย (สุรินทร์) ประดงเลือด (สุโขทัย) หำฟาน( เชียงใหม่) อุ่นขี้ไก่ (ลำปาง) คำรอก ตานนกกด (ขอนแก่น)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : คำรอก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ellipanthus tomentosus Kuze var. tomentosus
ชื่อวงศ์ : CONNARACEAE
ลักษณะของตานนกกด
ไม้พุ่ม หรือไม้ต้นสูงถึง 30 ม. ใบเดียว รูปรี หรือ รูปใบหอก กว้าง 3-6 ยาว 6-15 ซม. ก้านใบ ยาว0.5-1 ซม. ฐานใบมน หรือ รูปลิ่ม ปลายใบมน หรือ เรียวแหลม ท้องใบมีขนโดยเฉพาะที่เส้นใบ ดอกออกเป็นช่อเป็นกลุ่มแน่น และแบบกระจะ ดอกมักสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยจำนวนไม่มาก มีขนปกคลุมเล็กน้อย กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรเพศผู้จำนวน 5 กลีบดอกสีขาว หรือสีครีม ด้านนอกมีขนประปราย ด้านในมีขนมาก เกสรเพศผู้เกลี้ยงยกเว้นตรงฐาน ผล แบบแห้งแตก มีขนสีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของตานนกกด
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ตานนกกดต้องการ
ประโยชน์ของตานนกกด
เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องจักสาน เครื่องมือการเกษตร เครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ และใช้ทำเชื้อเพลิงได้ดี
สรรพคุณทางยาของตานนกกด
ลำต้นและกิ่งก้าน แก้ปวดท้องเกร็ง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคหืด เปลือกและแก่น แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้)
คุณค่าทางโภชนาการของตานนกกด
การแปรรูปของตานนกกด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11852&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com