นมควาย มีผลเท่าลูกตำลึง รสเปรี้ยว

นมควาย

ชื่ออื่นๆ : บุหงาใหญ่ (เหนือ) นมควาย (ใต้) นมแมวป่า (เชียงใหม่) หำลิง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ติงตัง (นครราชสีมา) ตีนตั่งเครือ (ศรีสะเกษ อุบล) พีพวน (อุดรธานี) สีม่วน (ชับภูมิ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : นมควาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uvaria hahinii sincl.

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของนมควาย

เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ลำต้นสูงได้ถึง 5 เมตร กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง ใบ เดี่ยว แยงสลับรูปวงรีหรือรูปไข่ ผิวใบมีขนสีน้ำตาลแดงทั้งสองด้าน กว้าง 2.5-3.5 เซนติเมตร ยาว 4.5-10 เซนติเมตร ดอก ออกเป็นกระจุก 2-3 ดอกที่กิ่งก้าน กลีบดอกสีแดงเข้ม กลิ่นหอม ผล เป็นผลกลุ่ม รูปไข่หรือไข่กลับเมื่อสุกสีแดงสด การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง ลูกนมควาย มีผลเท่าลูกตำลึง รสเปรี้ยวๆ

นมควาย
กิ่งอ่อนมีขนละเอียดสีน้ำตาลแดง

การขยายพันธุ์ของนมควาย

ใช้เมล็ด/การขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่นมควายต้องการ

ประโยชน์ของนมควาย

แก่นและราก ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ สลับไข้ซ้ำ เนื่องจากกินของแสลง ราก แก้ผอมแห้ง สำหรับสตรีที่อยู่ไฟไม่ได้ หลังการคลอดบุตรและช่วยบำรุงน้ำนม ใช้รับประทาน ใช้เป็นยารักษาโรค
ผล ตำผสมน้ำทา แก้เม็ดผดผื่นคัน ผลสุกรับประทานได้

ผลนมควาย
ผลออกป็นผลกลุ่ม รูปไข่หรือไข่กลับเมื่อสุกสีแดงสด

สรรพคุณทางยาของนมควาย

คุณค่าทางโภชนาการของนมควาย

การแปรรูปของนมควาย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10728&SystemType=BEDO

Add a Comment