นมวัว
ชื่ออื่นๆ : มะไฟแรด, ขี้หนอน, เคาะหนาม (เชียงใหม่) นมวัว (นครราชสีมา) เหมือดคน (ภาคกลาง จันทบุรี สระบุรี)
ต้นกำเนิด : พบตามป่าเต็งรัง ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 600-1,600 เมตร
ชื่อสามัญ : มะไฟแรด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scleropyrum pentandrum (Dennst.) Mabb.
ชื่อวงศ์ : SANTALACEAE
ลักษณะของนมวัว
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 7 เมตร ตามลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมแข็ง ขึ้นรวมกันเป็นกลุ่มๆ กระจายทั่วลำต้น ลำต้นและกิ่งอ่อนมีสีเขียว ลำต้นที่แก่จะแตกเป็นร่องลึก เปลือกลำต้น และเปลือกใน สีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีแกมรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้างได้ถึง 5 เซนติเมตร ยาวได้ถึง 18 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ใบแก่แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบ เป็นมัน ท้องใบผิวเกือบเกลี้ยง ที่เส้นกลางใบมีร่องเล็กตามยาว ก้านใบมีขนนุ่ม ไม่มีหูใบ
ดอก ดอกช่อเชิงลดออกจากลำต้น และซอกใบ ช่อดอกอัดแน่นรูปทรงกระบอก ช่อดอกแยกเพศหรือสมบูรณ์เพศอยู่ร่วมต้น ดอกมีขนาดเล็ก กลีบรวม5 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน สีเขียวแกมเหลือง ช่อดอกเพศผู้เป็นแบบช่อหางกระรอกออกรวมกันเป็นกลุ่ม มักออกจากลำต้น ดอกมีกลิ่นเหม็น มีก้านดอกย่อยสั้นมาก ดอกเพศเมียไม่มีก้านดอก ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ รังไข่อยู่ต่ำกว่าวงกลีบ ในดอกที่สมบูรณ์เพศมักมีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน ออกดอกราวเดือนมกราคมถึงมีนาคม
ผล ผลสดเมล็ดในแข็ง ทรงลูกแพร์หรือรูปไข่ ขนาด 1.3-2.6 เซนติเมตร เมล็ดมี 1-3 เมล็ด รูปทรงกลม ติดผลราวเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม
การขยายพันธุ์ของนมวัว
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่นมวัวต้องการ
ประโยชน์ของนมวัว
ผล ใช้รับประทาน
สรรพคุณทางยาของนมวัว
- ยาพื้นบ้านอีสานใช้ ลำต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลัง แก้ลมบ้าหมู ผสมรากนมราชสีห์ ต้มน้ำดื่ม บำรุงน้ำนม ราก ฝนน้ำดื่ม แก้ผิดสำแดง ผสมแก่นจันทน์แดง ฝนน้ำดื่ม แก้ไข้
- ตำรายาไทย แก่น เป็นยาบำรุงน้ำนม ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วในสตรีหลังคลอด เป็นยาอายุวัฒนะได้ทั้งชายและหญิง โดยนำมาแก่นมาต้มกินเป็นยาเดี่ยว หรือผสมกับยาอื่นเป็นตำรับ เช่น ตาไก้ ช้างน้าว ตานกกด เป็นยาบำรุงร่างกายหลังเจ็บป่วย แก้กษัย ปวดเมื่อยตามตัว แก้ท้องบวม ปัสสาวะขุ่นข้น รักษาไข้ที่ไม่มีเหงื่อออก รักษาฝีในท้อง แก้ไข้ ถอนพิษสำแดง ไม่ระบุส่วนที่ใช้ รักษามาลาเรีย รักษาวัณโรค
คุณค่าทางโภชนาการของนมวัว
การแปรรูปของนมวัว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10703&SystemType=BEDO
www.flickr.com
One Comment