นางใย มะหากาหนัง ไม้ต้นไม่ผลัดใบ เปลือกนำเอามาดองหรือแช่ในสุรา

นางใย

ชื่ออื่นๆ : ตานขี้ม้า, มะหากาหลัง (เหนือ) นางใย, อึ่งเปาะ (อุบลราชธานี) มะดะ, คอแห้ง, กระจับนก, มะหากาหนัง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : มะหากาหนัง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Euonymus cochinchinensis Pierre.

ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE

ลักษณะของนางใย

ต้น ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูงถึง 14 เมตร ทรงพุ่มแน่น ทึบ ลำต้นเปลาตรง

ใบ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบรูปรี หรือรูปไข่กลับแกมรูปรี กว้าง 3.5-6 ซม. ยาว8.5-14 ซม. ปลายมนหรือแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หรือจักห่างๆที่ปลายใบ

ดอก สีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ สีขาว ขอบจักเป็นฝอย ส่วนฐานแผ่เป็นจานกลมนูน เกสรตัวผู้มี 5 อัน

ผล ผลแห้งแตกมี 5 พู ผลแก่สีแดง มีส่วนของกลีบเลี้ยงติดอยู่

มะหากาหนัง
ใบรูปรี ปลายใบแหลม ผิวใบเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของนางใย

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่นางใยต้องการ

ประโยชน์ของนางใย

เป็นสมุนไพร

สรรพคุณทางยาของนางใย

  • เปลือก นำเอามาดองหรือแช่ในสุรา ใช้ดื่มกินก่อนอาหารจะทำให้อยากอาหาร รับประทานอาหารได้มาก
  • ราก นำมาแช่น้ำ หรือฝนน้ำ รับประทาน แก้อาการผิดสำแดง (รับประทานอาหารแสลงไข้ ทำให้โรคกำเริบ อาจมีอาการท้องเสีย) แก้อาการเมาเห็ด
ดอกมะหากาหลัง
สีเหลืองถึงชมพูแดง ออกเป็นช่อตามซอกใบ

คุณค่าทางโภชนาการของนางใย

การแปรรูปของนางใย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10292&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment