น้อยหน่าหนังคือ มีเนื้อมาก เมื่อผลสุกเปลือกล่อนเป็นแผ่นลอกจากเนื้อได้

น้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว

ชื่ออื่นๆ : น้อยหน่าหนังเขียว, น้อยหน่าหนัง

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย ปลูกกันมากในเขตพื้นที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

ชื่อสามัญ : Sugar apple Nang Khiew

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona squamosa L. ‘Nang Khiew’

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว

ต้น  น้อยหน่าพันธุ์หนังเขียวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขา เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบรูปรี ปลายและโคนใบแหลม สีเขียว

ต้นน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว
ต้นน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกกิ่งก้านมากมาย

ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ ดอกห้อยลง มีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบชั้นนอกจะ ยาวกว่ากลีบชั้นใน มีสีเหลืองอมเขียว กลีบ เลี้ยง 3 กลีบ

ผล สีเขียว เนื้อผลสีขาว เหนียวละเอียด มีเนื้อมาก เมื่อผลสุกเปลือกล่อนเป็นแผ่นลอกจากเนื้อได้ มีกลิ่นหอม รสหวาน

น้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว
ผลน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว ผลสีเขียว เนื้อผลสีขาว เหนียวละเอียด มีเนื้อมาก

การขยายพันธุ์ของน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง

สภาพพื้นที่ในการปลูกต้องอยู่สูงกว่าระดับทะเลปานกลางประมาณ 1,000 ม. มีปริมาณน้ำฝนในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 800-1,300 มม. มีอุณหภูมิในสภาพแวดล้อมประมาณ 10-40 องศาเซลเซียส มีแสงแดดจัดๆ ส่องได้ทั่วถึง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพของดินร่วนปนทราย หรือเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถระบายน้ำได้ดีไม่มีน้ำท่วมขัง มีหน้าดินลึกลงไปประมาณ 40 ซม. มีค่า pH ของดิน ประมาณ 5.5-7.4 เป็นพื้นที่ที่ปราศจากโรคและสารตกค้าง มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอตลอดฤดูกาลปลูก

ธาตุอาหารหลักที่น้อยหน่าพันธุ์หนังเขียวต้องการ

ประโยชน์ของน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว

ผลสุกรับประทานสด

สรรพคุณของน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว

  • ใบ เมล็ด และผลดิบ นำมาสกัดเป็นน้ำมัน ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง
  • ราก ใช้เป็นยาระบาย แต่หากรับประทานจำนวนมาก อาจถึงตายได้
  • ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในลำคอ กลากเกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง
  • ผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
  • เมล็ด เป็นยาฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา แก้บวม
  • เปลือก แก้พิษงู

คุณค่าทางโภชนาการของน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว

การแปรรูปน้อยหน่าพันธุ์หนังเขียว

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rpplant.royalparkrajapruek.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com, www.shopee.co.th

One Comment

Add a Comment