การปลูกน้อยหน่า ผลไม้ที่มีสรรพคุณทางยา

น้อยหน่า

ชื่ออื่นๆ : น้อยแน่ (ภาคใต้) มะนอแน่, มะแน่ ( ภาคเหนือ) มะออจ้า, มะโอล่า (เงี้ยว-ภาคหนือ) ลาหนัง (ปัตตานี) หน่อเกล๊าะแซ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) บักเขียบ (ภาคอีสาน)

ต้นกำเนิด : อเมริกากลางและใต้ พบได้ทั่วไปในเขตร้อนรวมถึงประเทศไทย

ชื่อสามัญ : Sugar apple

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Annona Squamosa linn

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของน้อยหน่า

ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กแตกกิ่ง ก้านสาขาออกเป็นก้านเล็ก ๆ ไม่ใหญ่โตมากนัก ผิวเกลี้ยง สีเทาอมน้ำตาล ลำต้นสูงประมาณ 8 เมตร

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ใบเป็นรูปรี ปลายและ โคนใบ แหลม ใบกว้าง ประมาณ 1-2.5 นิ้ว ยาว 3-6 นิ้ว สีเขียว ก้านใบยาว 0.5 นิ้ว

ดอก ออกดอกเดี่ยว ๆ อยู่ตรามงามใบ ลักษณะดอกจะห้อยลง มีอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ ชั้นในกลีบดอกจะสั้นกว่าชั้นนอก มีสีเหลือง อมเขียว กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ เกสรกลางดอกจะมีจำนวนมาก

ผล ออกเป็นลูกกลม ๆ ป้อม ๆ โตประมาณ 3-4 นิ้ว มีผิวขรุขระเป็นช่องกลมนูนในแต่ละช่องนั้นภายในมีเนื้อสีขาว และมีเมล็กสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม เนื้อในทานได้มีรสหวาน เปลือกผลสีเขียว ถ้าสุกตรงขอบช่องนูนนั้นจะออกสีขาว เปลือกผลสีเขียว บีบดูจะนุ่ม น้อยหน่าจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม

ต้นน้อยหน่า
ต้นมีขนาดเล็ก ผิวเกลี้ยง ใบเป็นรูปรี

การขยายพันธุ์ของน้อยหน่า

การใช้เมล็ด,การติดตาหรือการต่อกิ่ง

วิธีการปลูก
1. ควรปลูกในช่วงฤดูฝน
2. ควรขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาวและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร
3. ผสมดิน ปุ๋ยคอกจำนวน 5 กิโลกรัม และปุ๋ยร็อคฟอสเฟตจำนวน 5 กิโลกรัม ประมาณ 500 กรัม เข้าด้วยกันในหลุมสูงประมาณ 2 ใน 3 ของหลุม
4. ยกถุงกล้าต้นไม้วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย
5. ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา)
6. ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
7. กลบดินที่เหลือลงในหลุม
8. กดดินบริเวณโดนต้นให้แน่น
9. ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลดพัดโยก
10. หาวัสดุคลุดดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง
11. รดน้ำให้ชุ่ม
12. ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดด
ระยะปลูก
3 x 3 เมตร
จำนวนต้นต่อไร่
จำนวนต้นเฉลี่ย 150 ต้น/ไร่
การให้ปุ๋ย
1. ต้นที่ยังไม่ให้ผลผลิตใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น/ปี แบ่งใส่ 2 – 3 ครั้ง
2. ต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว แบ่งการใส่ปุ๋ยดังนี้
– บำรุงต้น ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 – ระยะสร้างตาดอก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 – บำรุงผล ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 – ปรับปรุงคุณภาพ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21
ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับอายุของต้นและผลผลิตบนต้น ซึ่งอัตราที่ใช้อยู่ระหว่าง 2 – 4 กิโลกรัม/ต้น/ปี
การให้น้ำ
ในระยะปลูกใหม่ จำเป็นต้องให้น้ำสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้อยหน่าเจริญเติบโตได้เร็ว จำนวนรอดตายสูง น้อยหน่าเริ่มติดผลได้ในปีที่ 2 การให้น้ำแก่ต้นน้อยหน่าสม่ำเสมอจะทำให้ขนาดของผลและคุณภาพผลดี
การปฏิบัติอื่น ๆ
น้อยหน่าที่ให้ผลในระยะ 2 – 3 ปีแรก ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง เพราะยังให้ผลขนาดใหญ่อยู่จะต้องตัดแต่งบ้างก็เป็นกิ่งที่สูงเกินไป กิ่งฉีกหัก กิ่งแก่ กิ่งไม่สมบูรณ์ ส่วนการตัดแต่งกิ่งครั้งใหญ่ จะเริ่มตัดแต่งกิ่งเมื่อน้อยหน่าอายุประมาณ 4 – 8 ปี ซึ่งต้นจะเริ่มเสื่อมโทรม ผลเล็ก รูปร่างไม่ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ของต้นและการบำรุงรักษาเป็นสำคัญ
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
1. ระยะแตกใบอ่อน ศัตรูพวกหนอนกินใบ ป้องกันโดยพ่นคาร์บาริล
2. ระยะออกดอก ศัตรูหนอนกัดกินดอกอ่อน ป้องกันโดยพ่นสารคาร์บาริล

สรรพคุณทางยาของน้อยหน่า

  • ราก เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียนและแก้พิษงูถอนพิษเบื่อเมา
  • เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้พิษงู แก้รำมะนาด ยาฝาดสมาน
  • ผล ผลดิบ จะเป็นยาแก้พิษงู แก้ฝีในคอ กลาก เกลื้อน ฆ่าพยาธิ ผิวหนัง และผลแห้ง แก้งูสวัด เริม แก้ฝีในหู
  • ใบน้อยหน่ามีสารแอลคาลอยด์ แอนโนเนอีน (anonaine) และเรซิน (resin) ในเมล็ดมีน้ำมันอยู 45% ซึ่งเป็นพิษกับด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อนแมลงวัน และมวนปีกแข็ง สารสกัดเมทานอลของใบน้อยหน่าเป็นพิษต่อไรทะเล และใบน้อยหน่ายังเป็นพิษต่อเพลี้ยอ่อนถั่วโดยมี LC50 2,089.30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร
  • เมล็ด ฆ่าพยาธิตัวจี๊ด ฆ่าเหา และแก้บวม
  • เปลือกต้น เป็นยาสมานลำไส้ สมานแผล แก้ท้องร่วง แก้รำมะนาด แก้พิษงู

วิธีการใช้:

  1. ฆ่าเหา ตำใบสด 8-12 ใบ หรือตำเมล็ดที่กะเทาะเปลือกแล้วให้ละเอียดประมาณ 4-5 ช้อนแกง แล้วนำมาผสมกับน้ำมันพืชให้พอเปียก อาจใช้เป็นน้ำมันถั่วเหลืองหรือน้ำมันมะพร้าวก็ได้ จากนั้นนำส่วนผสมที่ได้มาชะโลมให้ทั่ว ทิ้งไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แล้วจึงสระออก ทำเช่นนี้ติดต่อกัน 2-3 วัน จะทำให้ตัวเหาและไข่จะฝ่อหมด หรืออาจนำใบน้อยหน่าที่ตำจนละเอียดมาผสมกับเหล้า 28 ดีกรี คลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วนำมาชะโลมบนเส้นผม เอาผ้าคลุมไว้ 10-30 นาที ก่อนใช้หวีสาง ตัวเหาก็จะตกลงมาทันทีเช่นกัน
  2. รักษาหิด ตำใบสดหรือเมล็ดให้ละเอียด ผสมน้ำมันพืชให้ลงพอแฉะ แล้วใช้ทาบริเวณที่เป็นหิดวันละ 2-3 ครั้ง จนกว่าจะหาย
  3. รักษาจี๊ด ตำเมล็ดสดประมาณ 20 เมล็ดให้ละเอียด และละลายสารส้มขนาดเท่าหัวแม่มือด้วยไฟอ่อน เมื่อสารส้มละลายเป็นเนื้อเดียวแล้วจึงโรยผงของเมล็ดน้อยหน่าลงไปทีละน้อย คนให้เข้ากัน จากนั้นรอให้เย็นลงเล็กน้อยพอที่จะใช้ยาป้ายผิวหนังได้ แล้วจึงป้ายยาลงตรงตำแหน่งที่บวม ทำวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย สามารถเก็บยาที่เตรียมไว้ได้หลายวัน แต่ก่อนใช้จะต้องนำมาตั้งไฟอ่อนๆให้พอละลายก่อน
  4. รักษากากเกลื้อน ตำใบน้อยหน่าสด 7-8 ใบ ให้ละเอียดแล้วคั้นเอาแต่น้ำ จากนั้นนำมาพอกบริเวณผิวหนังที่เป็นกลากเกลื้อน
ผลน้อยหน่า
เป็นลูกกลม ป้อม มีผิวขรุขระเป็นช่องกลมนูน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9778&SystemType=BEDO
https://thaiherbal.org
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment