น้ำนมราชสีห์ ยอดทานได้ ทั้งต้นมีสรรพคุณทางยา

น้ำนมราชสีห์

ชื่ออื่นๆ : ผักโขมแดง (ภาคกลาง) หญ้าน้ำหมึก (ภาคเหนือ) หญ้าหลังอึ่ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Garden Spurge

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia hirta L.

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

ลักษณะของน้ำนมราชสีห์

ต้น ไม้ล้มลุก กลางแจ้ง สูง 0.5 เมตร ลำต้นเหนือดิน ผิวเรียบ ต้นอ่อนสีน้ำตาลเขียว ต้นแก่สีน้ำตาล มียางใส

ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน กว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 3 เซนติเมตร ปลายใบขนครุยหรือขนละเอียด โคนใบเฉียง ขอบใบเรียบ

ดอก ดอกช่อกระจะ ออกตามซอกใบ สีน้ำตาลเขียว ไม่มีกลิ่น ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก ผลเป็นกลุ่มเมื่อแห้งจะแตก

ผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สี น้ำตาล

ต้นน้ำนมราชสีห์
ต้นน้ำนมราชสีห์ต้นอ่อนสีน้ำตาลเขียว ต้นแก่สีน้ำตาล มียางใส
ใบดอกต้นน้ำนมราชสีห์
ใบดอกต้นน้ำนมราชสีห์ ดอกช่อกระจะ ออกตามซอกใบ สีน้ำตาลเขียว

การขยายพันธุ์ของน้ำนมราชสีห์

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกเหง้าปลูกได้เลย

ธาตุอาหารหลักที่น้ำนมราชสีห์ต้องการ

ประโยชน์ของน้ำนมราชสีห์

ยอดอ่อนกินได้

สรรพคุณทางยาของน้ำนมราชสีห์

  • ทั้งต้น ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะแดงหรือขุ่นข้น ยาพอก แก้บาดแผลเล็กน้อย เพิ่มน้ำนมและฟอกน้ำนมให้สะอาด ระงับอาการชัก แก้ไอ แก้หอบหืด รักษาบิดมูกเลือด
  • ราก แก้ไอ หมดสติ ลดไข้ รักษาโรคบิดมีตัว เป็นยาทำให้อาเจียน ขับน้ำนม แก้ไข้มาเลเรีย
  • น้ำยาง ใช้กัดหูด เป็นยาแก้บิด ขับน้ำนม ธาตุพิการ ขับปัสสาวะ แก้หอบหืด หลอดลมอักเสบ แก้แพ้อากาศ เป็นยาฝาดสมาน และห้ามเลือด
  • ใบแห้ง สูบแก้หอบหืด

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำนมราชสีห์

การแปรรูปของน้ำนมราชสีห์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10579&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment