ดันหมี
ชื่ออื่นๆ : กัลปังหาต้น (ภูเก็ต) ก้านเหลือง, คำเกี้ยวต้น (เหนือ) ดันหมี, ปูตูบูแว (มาเลย์-นราธิวาส) มะดีควาย (เชียงใหม่) แสนเมือง (หนองคาย) หีควาย (ลำปาง) ดีหมี, ดีควาย
ต้นกำเนิด : เกิดตามป่าเบญจพรรณทั่วๆไป
ชื่อสามัญ : ดันหมี, ก้านเหลือง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gonocaryum lobbianum ( Miers ) Kurz.
ชื่อวงศ์ : ICACINACEAE
ลักษณะของดันหมี
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่เปลือกต้นสีเทาถึงสีน้ำตาล
ใบ ใบเดียวรูปรีเรียงสลับ เนื้อใบหนาและเหนียว ขั้วใบและก้านใบสีเหลือง ใบคล้ายใบมะไฟ
ดอก ดอกออกเป็นกระจุก ออกตามง่ามใบเป็นช่อสั้น ๆ แยกเพศอยู่คนละคน กลีบดอกสีขาวแกมเขียว เชื่อมต่อเป็นหลอด ผลสดรูปกระสวยแกมขอบขนานสีเขียว
ผล ผลคล้ายผลสมอ แต่พอสุกแล้ว จะมีสีดำ
การขยายพันธุ์ของดันหมี
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ดันหมีต้องการ
ประโยชน์ของดันหมี
- เมล็ด นำมาต้มรับประทาน
- ผล เผาไฟแล้วกินเนื้อข้างใน
สรรพคุณทางยาของดันหมี
- ราก รสขม แก้ไข้ ดีซ่าน ตาเหลือง ตัวเหลือง แก้ปวดท้อง แก้เหน็บชา
- เมล็ด เป็นยาระบาย
- ใบ ต้มน้ำดื่มแก้อาการปัสสาวะขัด
- เปลือกลำต้น ขูดแล้วนำมาตากแห้งผสมยาสูบ
คุณค่าทางโภชนาการของดันหมี
การแปรรูปของดันหมี
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12129&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com