บลูเบอร์รี่
ชื่ออื่นๆ : บลูเบอรี่
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาเหนือ (สหรัฐอเมริกา/แคนาดา)
ชื่อสามัญ : Blueberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vaccinium
ชื่อวงศ์ : Ericaceae
ลักษณะของบลูเบอร์รี่
ลำต้น : เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กมีอายุยืน มีทรงพุ่มเมล็ด มีเมล็ดเล็กๆอยู่ในเนื้อ มีลักษณะทรงรีเล็กๆ เมล็ดแข็ง มีสีน้ำตาล ขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านเป็นพุ่ม ลำต้นมีลักษณะกลมๆ มีสีน้ำตาล
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะรูปไข่ ยาวรี ขอบใบเรียบ มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียว
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ มีดอกย่อย มีลักษณะรูปทรงระฆัง กลีบดอกมีสีขาว สีชมพู สีแดง มีกลีบเลี้ยงสีเขียว มีก้านช่อดอกยาว ดอกออกซอกใบซอกกิ่งและปลายยอด
ผล : เป็นผลเดี่ยว อยู่เป็นพวง มีลักษณะทรงกลมเล็กๆ ปลายผลมีวงแหวนเล็กๆ คล้ายมุงกุฎ ผิวเปลือกเรียบมีนวลทั่วผล ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่เปลี่ยนเป็นสีม่วงแดง ผลสุกจะมีสีม่วงเข้มหรือสีฟ้าอมม่วง มีเนื้อสีม่วงอมน้ำเงิน เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ มีรสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยว ตามสายพันธุ์ มีกลิ่นหอม เริ่มออกผลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
เมล็ด : มีเมล็ดเล็กๆอยู่ในเนื้อ มีลักษณะทรงรีเล็กๆ เมล็ดแข็ง มีสีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของบลูเบอร์รี่
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่บลูเบอร์รี่ต้องการ
ประโยชน์ของบลูเบอร์รี่
เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ผู้สูงอายุ เพราะผลการวิจัยพบว่า การกินผลไม้ชนิดนี้จะทำให้สุขภาพแข็งแรง และช่วยในเรื่องของความจำได้อีกด้วย Blueberry ผลไม้ผล กลมเล็กๆ สีน้ำเงินเข้มนั้น ชาวอเมริกันอินเดียน หรืออินเดียนแดงใช้ในการปรุงอาหารใช้เป็นยา และทำสีย้อมแบบครามมานานแล้ว Blueberry เป็นไม้พุ่ม มี 2 ชนิด คือชนิดพุ่มสูงที่ปลูกกันตามบ้าน และชนิดพุ่มเตี้ย หรือ Blueberry ป่า ตามธรรมชาติ จะมีสารต้านอนุมูลอิสระมากช่วยในการป้องกันการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ (free radicals) และโรคเรื้อรังต่างๆที่เกี่ยวกับขบวนการทำให้แก่เร็ว
สารต้านอนุมูลอิสระในบลูเบอรี่ ประกอบด้วย สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids), สารแอนโธไซยานิน (Anthocyanins), สารเบต้าแคโรทีน (Beta-Carotene) และส่วนผสมของเฟโนลิก (phenolic compounds) อ้างถึงศูนย์วิจัย USDA เกี่ยวกับสารอาหารของมนุษย์สัมพันธ์กับความชราภาพ (บอสตัน,สหรัฐอเมริกา) กล่าวไว้ว่า บลูเบอรี่เป็นผลไม้ที่มีปฏิกิริยาเชิงต้านอนุมูลอิสระที่ยอดเยี่ยมมากชนิดหนึ่ง มีวิตามิน C และ วิตามิน E
– อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง ที่ช่วยต้านการทำลายเซลล์ของร่างกาย
– มีปริมาณใยอาหารสูงโดยเฉพาะเพคติน ที่ทำหน้าที่ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอล และช่วยควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือด
– ช่วยดูแลเส้นเลือดฝอยให้แข็งแรง
– ช่วยชะลอความแก่ บำรุงร่างกายและช่วยให้ความจำดีขึ้นในคนชรา
-มีส่วนช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศของผู้ชายสูงวัย โดยจะมีผลให้ระบบหมุนเวียนเลือดดีขึ้น
สรรพคุณทางยาของบลูเบอร์รี่
คุณค่าทางโภชนาการของบลูเบอร์รี่
การแปรรูปของบลูเบอร์รี่
ทำแยมผลไม้ ตากแห้ง อบแห้ง โยเกิร์ตผสมเนื้อบลูเบอร์รี่ ขนมปัง เค้ก ไอศกรีม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9910&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
2 Comments