บวบขม เนื้อในผลมีรสขม เส้นใยใช้แทนฟองน้ำสำหรับล้างจาน

บวบขม

ชื่ออื่นๆ : มะนอยจ๋า (ภาคเหนือ), นมพิจิตร (ภาคกลาง), เล่ยเซ (เมี่ยน)

ต้นกำเนิด : ขึ้นเองตามริมน้ำ ตามที่รกร้างทั่วไป

ชื่อสามัญ :  Sponge Gourd และ Vegetable Sponge

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trichosanthes cucumerina L.

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะของบวบขม

ต้น เป็นไม้ล้มลุกเลื้อยพันหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนาดยาวประมาณ 2-5 เมตร มีมือเกาะจับต้นไม้อื่น ตลอดเถา กิ่งก้าน และใบมีขนขึ้นประปราย ไม่นิยมปลูกไว้เพื่อกินผลเป็นอาหาร เนื่องจากเนื้อในผลมีรสขม ส่วนใหญ่แล้วจะปลูกตามสวนสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยาเท่านั้น

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปห้าเหลี่ยม หรือรูปโล่แกมรูปไตถึงรูปไข่กว้าง ปลายใบแหลมหรือกลม โคนใบเว้าเข้าหากลางใบหรือเป็นรูปหัวใจ ส่วนขอบใบจักเป็นซี่ฟันและมีรอยเว้าลึกทำให้เป็น 5 แฉก แผ่นใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-10 เซนติเมตร ผิวใบสากมือ มีขนทั้งสองด้าน แต่ขนด้านล่างจะยาวกว่าด้านบน เส้นใบเป็นร่องลึกเห็นได้ชัด เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5 เส้น ก้านใบเล็กและมีขน ยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร 

ดอก  ดอกเป็นแบบแยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อยาวประมาณ 6-16 เซนติเมตร ก้านดอกเล็กคล้ายเส้นด้ายและมีขนเล็กน้อย กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ยาวประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร กลีบยาว 1.5 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่แกมสามเหลี่ยมยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร มีเส้น 3 เส้น กลีบอยู่ชิดกัน มีเกสรเพศผู้ 3 อัน เป็นรูปทรงกระบอก มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง โดยจะออกตามซอกใบ ก้านดอกยาวประมาณ 3-12 มิลลิเมตร กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีลักษณะเหมือนกัน ดอกเพศผู้ รังไข่เป็นรูปยาวรีและมีขนยาวนุ่ม ท่อรังไข่เล็กเหมือนเส้นด้าย ยาวประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร
 

ผล  เป็นรูปกลมรีหรือรูปไข่ หัวท้ายแหลม ผลกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ผิวผลเป็นสีเขียวมีตุ่มเล็ก ๆ ขรุขระเล็กน้อย มีจุดประสีขาวทั่วผล ลายสีเขียวเข้มตามความยาวของผล ผลมักงอเล็กน้อย มีรสขม ภายในมีเมล็ดอ่อนสีขาวจำนวนมากอัดแน่นกันเป็นแถว เมื่อแก่เป็นสีดำรูปหยดน้ำ แบน มีขนาดกว้างประมาณ 0.4-0.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.8 เซนติเมตร

ต้นบวบขม
ต้นบวบขม ไม้ล้มลุกทอดเลื้อย ใบเป็นรูปห้าเหลี่ยมมีขน

การขยายพันธุ์ของบวบขม

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่บวบขมต้องการ

ประโยชน์ของบวบขม

  • ผลใช้ประกอบอาหาร เช่น ใช้ใส่ในแกง เนื้อในผลมีรสขม
  • เส้นใยใช้แทนฟองน้ำสำหรับล้างจาน
ผลบวบขม
ผลบวบขม ผลเป็นรูปกลมรี หัวท้ายแหลม

สรรพคุณทางยาของบวบขม

  • ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ เถา ผล หรือทั้งต้นบวบขม เข้าตำรับยาหอมแก้ลม บำรุงหัวใจ
  • ตำรายาไทยจะใช้ผลสดเป็นยาพอกศีรษะ แก้คัน แก้รังแค และฆ่าเหา โดยนำมาขยี้ฟอกศีรษะเส้นผมหลังสระผม หมักทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วค่อยล้างน้ำออก โดยให้ฟอกทุกครั้งหลังสระผม จะช่วยขจัดรังแคแก้อาการคันศีรษะได้ดีมาก
  • ผลมีรสขมมาก มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ ส่วนเถาและเมล็ดก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำเช่นกัน
  • น้ำต้มจากรากมีสรรพคุณเป็นยาแก้หลอดลมอักเสบ
  • เมล็ดมีรสขมเย็น มีสรรพคุณเป็นยาขับประจำเดือนของสตรี และใช้ได้ดีกับคนไข้ธาตุพิการ

คุณค่าทางโภชนาการของบวบขม

การแปรรูปของบวบขม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11090&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment