บวบหอม ยอดอ่อนและผลอ่อน นำไปประกอบอาหาร

บวบหอม

ชื่ออื่นๆ : ตะโก๊ะสะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เบล่จูจ้า(ปะหล่อง), บวบ(คนเมือง), เล่ยเซ(เมี่ยน), เต้าหยัวเยี่ยะ(ม้ง) – กะตอร่อ (มลายู – ปัตตานี); บวบกลม, บวบขม (กลาง); บวมอ้ม, มะนอยขม, มะนอยอ้ม (เหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : บวบหอม, บวบกลม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Luffa cylindrical (Linn.) M.J Roem

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะของบวบหอม

ต้น บวบเป็นพืชเถาเลื้อย มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นและกิ่งก้านมีขน ขนจะค่อย ๆ หลุดร่วงไปเมื่อแก่; ตามข้อมีมือเกาะเป็นเส้นยาว, มักแยกเป็น 3 แขน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน มีขนาดกว้างและยาว 12 – 20 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย มีรอยเว้าลึกเป็น 5 แฉก โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ ก้านใบยาว 6 – 10 ซม. เป็นเหลี่ยม

ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน  ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นช่อ  ดอกเพศผู้ เป็นช่อ ยาว 10 – 15 ซม. ก้านดอกยาว 1 – 2 ซม. กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อสั้น ๆ  ปลายแยกเป็นกลีบเล็ก ๆ  เรียงยาว, 5 กลีบ มีขน กลีบดอก 5 กลีบ, รูปไข่กลับหรือรูปรี สีเหลืองหรือเหลืองอ่อน, ขอบกลีบมีรอยย่นเป็นคลื่น ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 – 5 ซม. กลีบมีขนาดกว้าง 1 – 1.5 ซม., ยาว 2 – 3 ซม. เกสรผู้ 3 อัน  อับเรณูมีจำนวนช่องไม่เท่ากัน คือ อับเรณูที่มี 1 ช่อง 1 อัน และ 2 ช่อง 2 อัน. ดอกเพศเมีย มักออกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว 1 – 7 ซม.; กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก มีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้ รังไข่รูปทรงกระบอก, อยู่ต่ำกว่ากลีบรองกลีบดอกและกลีบดอก ภายในมี 3 ช่อง  มีไข่อ่อนเรียงตามแนวยาวจำนวนมาก  ท่อรังไข่ กลมสั้น ปลายแยกเป็น 3 แฉก

ผล รูปทรงกระบอก, เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 10 ซม., ยาว 15 – 30 ซม., ปลายผลมีรอยของกลีบรองกลีบดอกเหลืออยู่  ผลอ่อนสีเขียว มีลายสีเขียวแก่  ผลแก่สีเขียวอมเหลืองหรือเขียวเข้มปนเทา  เนื้อในมีเส้นใยเหนียวเป็นร่างแห เมล็ด รูปรี แบน กว้าง 6 – 8 มม., ยาว 1.2 – 1.5 ซม. เมื่อแก่สีดำ

ต้นบวบหอม
ไม้เถาเลื้อย ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเล็กน้อย มีรอยเว้าลึกเป็น 5 แฉก

การขยายพันธุ์ของบวบหอม

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่บวบหอมต้องการ

ประโยชน์ของบวบหอม

  • ยอดอ่อนและผลอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกง ผัด หรือลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,คนเมือง,ปะหล่อง)
  • ผลอ่อน ประกอบอาหารเช่น แกง(ม้ง)
  • เส้นใย ใช้ล้างถ้วยจาน(ม้ง)
  • ใย เอามาขัดตัวหรือใช้ล้างจาน(เมี่ยน)
  • ผลแก่ ใยเอาไปขัดหม้อ หรือขัดถูตัว(กะเหรี่ยง)
  • ใยบวบ ใช้รองหม้อนึ่งข้าว และขัดหม้อ(ปะหล่อง,คนเมือง)
ผลบวบหอม
ผลเป็นทรงกระบอก ผลอ่อนสีเขียว มีลายสีเขียวแก่

สรรพคุณทางยาของบวบหอม

  • ราก น้ำต้มราก, กินเป็นยาระบาย
  • ใบ ใบอ่อนกินได้, น้ำคั้นใบสด, เป็นยาขับระดู, ฟอกเลือด, ส่วนน้ำต้มใบ, ใช้ร่วมกับยาขับปัสสาวะอื่น ๆ , ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ และแก้ปัสสาวะเป็นเลือด ; ตำเป็นยาพอก, แก้อาการบวมอักเสบและฝี
  • ผล ผลอ่อนกินได้ เป็นยาระบาย, ขับลม, ขับน้ำนม และแก้อาการเลือดออกตามทางเดินอาหาร และจากกระเพาะปัสสาวะ
  • เมล็ด กินเป็นยาทำให้อาเจียน และเป็นยาระบาย

คุณค่าทางโภชนาการของบวบหอม

คุณค่าทางโภชนาการของผลบวบหอม ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 16 กิโลแคลอรี
  • โปรตีน 0.7 กรัม
  • ไขมัน 0.1 กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต 3.0 กรัม
  • เส้นใยอาหาร 0.2 กรัม
  • เถ้า 0.3 กรัม
  • น้ำ 95.9 กรัม
  • วิตามินเอรวม 1 RE
  • วิตามินบี 1 0.37 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 2 0.05 มิลลิกรัม
  • วิตามินบี 3 0.2 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 15 มิลลิกรัม
  • ธาตุแคลเซียม 3 มิลลิกรัม
  • ธาตุฟอสฟอรัส 3 มิลลิกรัม
  • ธาตุเหล็ก 0.4 มิลลิกรัม

การแปรรูปของบวบหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10071&SystemType=BEDO
https://eherb.hrdi.or.th/search_result_details.php?herbariumID=1074&name=Smooth
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment