บัวหลวง
ชื่ออื่นๆ : บุณฑริก, ปทุม, ปัทมา, สัตตบงกช, บัวฉัตรขาว, บัวฉัตรสีชมพู, สัตตบุษย์
ต้นกำเนิด : ในทวีปเอเชีย
ชื่อสามัญ : Lotus, Sacred lotus, Egyptian
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nelumbo nuclfera Gaertn
ชื่อวงศ์ : Nelumbonaceae
ลักษณะของบัวหลวง
ต้น พืชล้มลุกมีไหลและเหง้าใต้ดิน และเป็นไหลเหนือดิน ใต้น้ำ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่ค่อนช้างกลม ขนาด 15-40 เซนติเมตร ขอบใบเรียบและเป็นคลื่น เล็กน้อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวและมีนวลเคลือบ ก้านใบกลมเรียวแข็งส่งใบให้เจริญที่ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ มีหนาม เป็นตุ่มเล็กๆ ภายในก้านใบมีน้ำยางใสเมื่อถูกอากาศเป็นสีคล้ำสีชมพู ขาว มีกลิ่นหอม
ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวขนาดใหญ่ ก้านดอกสีเขียว อวบกลมส่งดอกชูขึ้น เหนือน้ำ กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ มีทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและกลีบดอกซ้อนกัน มีเกสรตัวผู้จำนวนมากติดอยู่รอบ ฐานรองดอกที่บวมขยายใหญ่ หุ้มรังไข่ไว้ภายในเรียกว่า “ฝักบัว” ดอกบานเต็มที่กว้าง 20-25 เซนติเมตร
บัวหลวงมีหลายพันธุ์มีชื่อเรียกต่างกันไปตามขนาดและลักษณะชองดอกคือ ดอกเล็กสีขาว เรียก บัวปักกิ่งขาว บัวหลวงจีนขาว บัวเข็มขาว ดอกเล็กสีชมพู เรียก บัวปักกิ่งชมพู บัวหลวงจีนชมพู บัวเข็มชมพู ดอกสีขาว เรียก บุณฑริก ปุณฑริก ดอกสีชมพู เรียก ปทุม ปัทมา โกกระณต ดอกสั้นป้อมสีขาวกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบุษย์ บัวฉัตรขาว ดอกสั้นป้อมสีชมพูกลีบซ้อน เรียก บัวสัตตบงกช บัวฉัตรสีชมพู ผลแห้ง เเบบผลกลุ่มประกอบด้วยผลย่อยรูปกลมรีจำนวนมากอยู่ภายในฝักบัวรูปกรวย ในผลย่อย มีเมล็ดขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เมล็ดล่อน ขึ้นในดินเหนียวที่มี อินทรีย์วัตถุสูง เจริญได้ดีในระดับน้ำลึก 30-50 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ของบัวหลวง
ใช้เมล็ด หรือการแยกไหล
ธาตุอาหารหลักที่บัวหลวงต้องการ
เจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียว
ประโยชน์ของบัวหลวง
ประโยชน์ : ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เกือบทุกส่วนของบัวหลวงใช้ประโยชน์ได้ เช่น เป็นไม้ประดับ เมล็ดใช้เป็นอาหาร ใช้ทางศาสนา ใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นสมุนไพรรักษาโรค
สรรพคุณทางยาของบัวหลวง
–
คุณค่าทางโภชนาการของบัวหลวง
การแปรรูปของบัวหลวง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11155&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
3 Comments