วิธีการปลูกต้นปรงป่า ปรงป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ Cycas siamensis Miq

ปรงป่า

ชื่ออื่นๆ : มะพร้าวเต่า, ปรงเขา,ปรงป่า

ต้นกำเนิด : อินโดจีน

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cycas siamensis Miq.

ชื่อวงศ์ :  CYCADACEAE

ลักษณะของปรงป่า

ต้น  เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 3 เมตร ลำต้นมีลักษณะ เป็นข้อสั้น ๆ สีเทาดำ รูปทรงทรงกระบอก ตรงโคนต้นจะป่องเล็กน้อย มีหัวใต้ดินแบนแผ่ออก

ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงเวียนแน่นที่ปลายยอด ใบสีเขียวเป็นมัน ยาวประมาณ 60-90 เซนติเมตร ใบย่อยยาวมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานแคบ มีจำนวน 50-70 คู่ ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 6 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 7.5-20 เซนติเมตร ปลายใบแข็งเป็นหนาม เส้นกลางใบนูนเห็นชัดเจนทั้งสองด้าน ก้านใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มีหนามที่สัน

ปรงป่า
ปรงป่า ลำต้นเป็นข้อสั้น สีเทาดำ ใบประกอบแบบขนนก

ดอก  ออกดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อแน่น ลักษณะเป็นรูปโคมยาวแกมขอบขนาน มีขนาดยาวประมาณ 30 เซนติเมตร กาบดอกเป็นแผ่นแข็งรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 17 เซนติเมตร ด้านนอกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีรยางค์แหลมที่ปลายตั้งขึ้น ส่วนดอกเพศเมียแผ่เป็นแผ่นคล้ายกาบ ขอบจักลึกคล้ายหนาม มีขนาดยาวประมาณ 10-10.5 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลอมเหลืองขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น ตอนล่างมีไข่อ่อนติดอยู่ 1 คู่ ข้างละ 1 ใบ ใบอ่อนโค้งพับลง

ดอกปรงป่า
ดอกปรงป่า ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อแน่น กาบดอกเป็นแผ่นแข็งรูปขอบขนาน

ผล  ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน สีน้ำตาล ผิวผลเกลี้ยง มีขนาดยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ด้านในมีเมล็ดรูปไข่ เปลือกเมล็ดแข็ง สีน้ำตาล ด้านในเป็นเนื้อเมล็ดที่มีขนาดใหญ่

ผลปรงป่า
ผลปรงป่า ผลรูปไข่ สีน้ำตาล ผิวผลเกลี้ยง

การขยายพันธุ์ของปรงป่า

การปลูกต้นปรงป่า โดยการเพาะเมล็ด

พบขึ้นหนาแน่นในป่าเบญจพรรณแล้งและป่าเต็งรังทั่วไปที่มีไฟไหม้เป็นประจำ ที่ความสูงประมาณ 20-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ธาตุอาหารหลักที่ปรงป่าต้องการ

ประโยชน์ของปรงป่า

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • สามารถนำไปสกัดเพื่อใช้เป็นแป้งสาคูที่ใช้สำหรับทำขนมหรืออาหาร ด้วยการสับเปลือกนอกลำต้นออกให้เหลือเฉพาะแกนอ่อนด้านในสุด ก่อนนำมาล้างน้ำ นำไปหมักหรือต้มเพื่อกำจัดสารพิษ แล้วนำมาสับ ตากแห้ง และบดเป็นแป้ง นอกจากนั้น ยังนำส่วนอื่น อาทิ ราก และเมล็ดมาใช้ทำแป้งได้ด้วย
  • ใบ แกน และเหง้า มีเนื้ออ่อนกรอบ และมีรสหวานเล็กน้อย สามารถนำไปประกอบอาหารพื้นเมืองได้ ทั้งต้ม ผัด และแกง

สรรพคุณทางยาของปรงป่า

  • หัว รสฝาดเย็น สรรพคุณ ฝนกับสุราทา แก้ฟกบวม สมานแผล แก้แผลเรื้อรัง แผลกลาย
  • ดอก รสเผ็ด สรรพคุณ บำรุงร่างกาย  บำรุงธาตุ แก้ลม แก้ดีและเสมหะพิการ
  • หัว รสเผ็ดขมจัด สรรพคุณ แก้ไข้ แก้หวัด แก้กำเดา ขับลมในลำไส้ ตำสุมศีรษะเด็ก แก้หวัด

คุณค่าทางโภชนาการของปรงป่า

การแปรรูปปรงป่า

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :  www.plant.opat.ac.th, www.thai-herbs.thdata.co, www.flickr.com

One Comment

Add a Comment