กำลังเลือดม้า เปลือกต้นเป็นสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา

กำลังเลือดม้า

ชื่ออื่นๆ : มะม่วงเลือดน้อย, ประดงเลือด, ประดงไฟ เลือดควาย (ชลบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Knema angustifolia (Roxb.) Warb.

ชื่อวงศ์ : Myristicaceae

ลักษณะของกำลังเลือดม้า

เป็นไม้ยืนต้น สูง  15-25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเข้ม มีด่างขาวประปราย เนื้อไม้สีเหลืองและเปลือกในมีน้ำยางสีแดงเข้ม แตกเป็นร่องยาว  เปลือกต้นและเนื้อไม้ มีรสหวาน เย็น เฝื่อนเมาเล็กน้อย ลำต้นมีน้ำยางสีแดง ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบคล้ายใบมะม่วง ดอกช่อสีส้มแกมน้ำตาล ออกที่ง่ามใบ

ต้นกำลังเลือดม้า
ต้นกำลังเลือดม้า  ใบเดี่ยว เรียงสลับ คล้ายใบมะม่วง

การขยายพันธุ์ของกำลังเลือดม้า

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่กำลังเลือดม้าต้องการ

ประโยชน์ของกำลังเลือดม้า

กำลังเลือดม้า เป็นสมุนไพรของชาวป่าหมอยาไทยใหญ่จึงเรียกว่า มะม่วงเลือด

สรรพคุณทางยาของกำลังเลือดม้า

  • เปลือกในมีน้ำยางสีแดงเข้ม มีฤทธิ์เป็นยาสมุนไพร โดยใช้รักษาเม็ดประดงผื่นคัน แดงทั้งตัว แก้ปวดแสบปวดร้อ
  • เปลือกต้นและเนื้อไม้ แก้โรคไตพิการ โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ภูมิแพ้ ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย
  • ทางภาคเหนือใช้ เปลือกต้น แช่น้ำดื่ม บำรุงกำลัง เปลือกต้นหรือใบ ต้มน้ำดื่ม แก้โรคโลหิตจาง

ตำรับยากำลังเลือดม้า
เปลือกกำลังเลือดม้า รากสุรามะริด โด่ไม่รู้ล้ม เถาม้ากระทืบโรง ต้มหรือดองเหล้ากินเป็นยาบำรุง

คุณค่าทางโภชนาการของกำลังเลือดม้า

การแปรรูปของกำลังเลือดม้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11859&SystemType=BEDO
http://greenarea.deqp.go.th

Add a Comment