วาสุเทพ หรือ ต้นประดู่แดง ชื่อวิทยาศาสตร์

ประดู่แดง

ชื่ออื่นๆ :  วาสุเทพ (กรุงเทพมหานคร)

ต้นกำเนิด : ประเทศกัวเตมาลา ทวีปอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : ประดู่แดง, Monkey Flower Tree, Fire of Pakistan

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Phyllocarpus septentrionalis Donn. Smith

ชื่อวงศ์ : FABACEAE

ลักษณะของประดู่แดง

ต้น  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มีความสูงถึง 20 เมตร ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ

ต้นประดู่แดง
ต้นประดู่แดง ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลอ่อน เรือนยอดแผ่กว้างกิ่งลู่ลง ผลัดใบ

ใบ  ใบเป็นรูปมนรีออกเป็นคู่ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ มีสีเขียว

ใบประดู่แดง
ใบประดู่แดง ใบรูปมนรี ปลายแหลม

ดอก  ออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสีแดงสด ดอกจะบานไม่พร้อมกัน จะทยอยกันบานไล่ขึ้นไปตั้งแต่โคนก้านช่อจนถึงปลายช่อ เวลาบานจะแดงสพรั่งทั้งต้น เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม

ดอกประดู่แดง
ดอกประดู่แดง ดอกสีแดงสด ออกเป็นช่อ

ผล  ผลเป็นฝักแบนรูปขอบขนานโค้งเล็กน้อย เมล็ดแบน

การขยายพันธุ์ของประดู่แดง

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ประดู่แดงต้องการ

ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง ต้องการปริมาณน้ำและความชื้นน้อย ชอบดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี

ประโยชน์ของประดู่แดง

  • ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปลูกตามแนวถนน ให้ดอกสีแดงสวยงาม และดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
  • ต้นไม้ประจำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนพิบูลวิทยาลัย จังหวัดลพบุรี
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ 12 โรงเรียนทั่วประเทศ
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดสมุทรปราการ
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนนวมราชานุสรณ์ จังหวัด นครนายก
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว
  • ต้นไม้ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียนหัวหิน
  • ต่นไม้ประจำโรงเรียนบุญเจริญวิทยา จังหวัดนครราชสีมา

สรรพคุณทางยาของประดู่แดง

  • เปลือกต้น ต้มกินแก้ไข้ เสมหะ เลือดกำเดาไหล
  • ใบอ่อน ใช้พอกแผลให้แห้งเร็ว แก้ผดผื่นคัน
  • ยางไม้ แก้โรคท้องเสีย

คุณค่าทางโภชนาการของประดู่แดง

การแปรรูปของต้นประดู่แดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9509&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.th.wikipedia.org, www.flickr.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

2 Comments

Add a Comment