ประสักดอกแดง
ชื่ออื่นๆ : โกงกางหัวสุม, ประสัก (ภาคกลาง) พังกาหัวสุม, พังกาหัวสุมดอกแดง (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ประสัก Black Mangrove
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bruguiera gymnorrhiza (L.) Savingy
ชื่อวงศ์ : RHIZOPHORACEAE
ลักษณะของประสักดอกแดง
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 25 -35 เมตร พบขึ้นอยู่ในที่ดินเลนแข็ง และน้ำทะเลท่วมถึงเป็นครั้งคราว โคนต้นมีพูพอนสูง รากหายใจคล้ายๆ หัวเข่า เปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว ไม่เป็นระเบียบ
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปปรีหรือไข่แกมรี ผิวใบเรียบ
ดอก ดอกเป็นดอกเดี่ยวเกิดที่ง่ามใบ ดอกตูมรูปกระสวย กลีบเลี้ยงสีแดงปนเขียว ดอกบานลักษณะสุ่ม
ผล ผลรูปลูกข่าง ผิวเรียบ มีลำต้นใต้ใบเลี้ยง ที่เรียกว่าฝักรูปกระสวยเป็นเหลี่ยม สีเขียวแกมม่วง แก่จัดสีม่วงดำ
การขยายพันธุ์ของประสักดอกแดง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ประสักดอกแดงต้องการ
ประโยชน์ของประสักดอกแดง
- ปลูกเป็นไม้ประดับ เพราะเป็นไม้ที่มีรูปทรงสวย
- ลำต้นใช้ทำฟืน เผาถ่าน ทำที่อยู่อาศัย เครื่องมือประมง เสาโป๊ะ หลักเลี้ยงหอยแมลงภู่
- ผลสามารถนำมาเชื่อมรับประทานได้
สรรพคุณทางยาของประสักดอกแดง
–
คุณค่าทางโภชนาการของประสักดอกแดง
การแปรรูปของประสักดอกแดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9631&SystemType=BEDO
www.flickr.com