ปลากดเหลือง เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง มีราคาดี

ปลากดเหลือง

ชื่ออื่นๆ : ปลากดกลางหรือปลากลาง  จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรีเรียกว่า ปลากดนาหรือปลากดเหลือง  จังหวัดสุราษฐฎร์ธานีเรียกว่า ปลากดฉลอง  จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เรียกว่า อีแกบาวง แต่ปลาชนิดนี้ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศไทย เรียกว่า ปลากดเหลือง

ต้นกำเนิด : ตามแหล่งน้ำธรรมชาติ

ชื่อสามัญ : YELLOW MYSTUS

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mytus nemurus

ชื่อวงศ์ : Bagridae

ลักษณะของปลากดเหลือง

ปลากดเหลืองเป็นปลานํ้าจืดที่ไม่มีเกล็ดลําตัวกลมยาวหัวค่อนข้างแบนกระดูกท้ายทอยยาวถึงโคนครีบหลังมีหนวด 4 คู่ครีบหลังเป็นครีบเดี่ยวมีก้านครีบแข็ง 1 ก้านและก้านครีบอ่อน 7 ก้านมีเงี่ยงแข็งและแหลมคม 1 คู่มีก้านครีบอ่อนข้างละ 9 ก้านครีบหางเว้าลึกแฉกบนยาวกว่าแฉกล่างลักษณะสีของลําตัวจะเปลี่ยนไปตามอายุขนาดและแหล่งที่อยู่อาศัยปลากดเหลืองที่มีขนาดโตเต็มวัยลําตัวบริเวณส่วนหลังมีสีนํ้าตาลเข้มปนดําบริเวณด้านข้างลําตัวมีสีนํ้าตาลปนเหลืองและบริเวณส่วนท้องมีสีขาวปลากดเหลืองเป็นปลาที่มีขนาดปานกลางขนาดใหญ่ที่สุดยาวกว่า 50 ซม. ส่วนใหญ่ที่พบมีขนาดประมาณ 30 ซม. หรือเล็กกว่า

ปลากดเหลือง
ปลากดเหลือง ปลาน้ำจืดที่ไม่มีเกล็ด ลำตัวกลมยาว หัวค่อนข้างแบนเรียว

การขยายพันธุ์ของปลากดเหลือง

ปลากดเหลืองที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ ่ได้จากรวบรวมพันธุ์จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หรืออ่างเก็บน้ำต่าง ๆ โดยคัดเลือกพันธุ์ปลาที่แข็งแรง อวัยวะทุกอย่างครบสมบูรณ์ ขนาดไม่ต่ำกว่า 400 กรัม นำมาเลี้ยงเป็นพอ่แม่ปลาได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง แต่ควรแยกเพศปลาตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน บ่อดิน ควรมีขนาด 800-1,600 ตารางเมตร อัตราการปล่อยปลา 1-2 ตัวต่อตารางเมตร
กระชัง ควรเป็นกระชังอวนโพลี ขนาดตา 2-3 เซนติเมตร ขนาดกระชังกว้าง 5 เมตร ยาว 5 เมตร ลึก 2.5 เมตร อัตราการปล่อยปลา 50-100 ตัว ต่อกระชัง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11917&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment