ปอแดง ปอพาน ไม้ยืนต้น พบในป่าเต็งรังและป่าดิบแห้ง

ปอแดง ปอพาน

ชื่ออื่นๆ : ปอขนุน (ภาคกลาง, ภาคใต้) ปอแดง (ภาคใต้) ปอพาน, ปอฟาน (เชียงใหม่) หมากนก (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : จากอินเดีย ศรีลังกา ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยพบตามป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง ที่ระดับความสูง 100-500 ม.

ชื่อสามัญ : ปอแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia guttata Roxb.

ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ลักษณะของปอแดง ปอพาน

ต้น ไม้ต้นผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ผิวเปลือกนอกเรียบ

ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับหนาแน่นบริเวณปลายกิ่งใบรูปรีกว้าง 8-10 ซม. โคนใบสอบ ปลายใบมีติ่งแหลมใบอ่อนมีขนปกคลุม

ดอก ช่อออกที่ปลายกิ่งสีเหลืองถึงสีแสดมีขนขึ้นปกคลุมกลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวยปลายแยกเป็นห้าแฉกไม่มีกลีบดอก

ผล ผลเป็นรูปกระสวยโค้ง เปลือกด้านนอกสีน้ำตาล เมื่อแก่จะเปลี่ยนสีส้มแดงและเปลือกจะแตกออกมีเมล็ดสีดำมันติดอยู่ตามขอบด้านใน

ใบปอแดง
ใบปอแดง ใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับหนาแน่น ใบอ่อนมีขน

การขยายพันธุ์ของปอแดง ปอพาน

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ปอแดง ปอพานต้องการ

ประโยชน์ของปอแดง ปอพาน

  • เนื้อไม้ปอแดงมีความเหนียว ตอกตะปูได้ง่าย สามารถนำมาใช้ทำไม้แบบหล่อคอนกรีต ทำลังใส่ของได้ดี
  • เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน และงานก่อสร้างชั่วคราว
ดอกปอแดง
ดอกปอแดง ดอกเป็นสีเหลืองถึงสีแสด

สรรพคุณทางยาของปอแดง ปอพาน

เปลือกใช้ผสมเป็นยาแก้ลม สวิงสวายใจสั่น ร่างกายอ่อนเพลีย (เปลือก)

ผลปอแดง
ผลปอแดง ผลเป็นรูปกระสวยโค้ง เปลือกด้านนอกสีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของปอแดง ปอพาน

การแปรรูปของปอแดง  ปอพาน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9186&SystemType=BEDO
www.inven.dnp9.com, www.rspg.or.th, หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  “ปอแดง”.  หน้า 110.

Add a Comment