ปอสา
ชื่ออื่นๆ : ฉำฉา ชำสา (นครสวรรค์) ชะดะโค (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) ปอกระสา (กลาง,เหนือ) ปอฝ้าย (Peninsusar) ส่าเหร่เจ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ต้นกำเนิด : พบในเขตเขตเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Paper mulberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Broussonetia papyrifera
ชื่อวงศ์ : Moraceae
ลักษณะของปอสา
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เปลือกต้นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว แผ่นใบสากมือเล็กน้อย ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกตัวผู้เป็นช่อหางกระรอก ดอกตัวเมียเป็นช่อกระจุกแน่น ผลกลม สีแดงอมส้ม ภายในมีเมล็ดสีแดง ยาง ราก ใบ และเปลือกลำต้น ผู้ที่แพ้เมื่อรับประทานเข้าไปทำให้ท้องร่วง

การขยายพันธุ์ของปอสา
ตัดยอดปักชำ
ธาตุอาหารหลักที่ปอสาต้องการ
ประโยชน์ของปอสา
- เปลือกใช้ทำกระดาษสา ทอผ้า เส้นใย ใช้ในงานศิลปะต่าง ๆ เส้นใยจากเปลือกใช้ทำผ้าตาปาซึ่งใช้ในฟิจิ ตองกา ซามัว และตาฮิติ (กระดาษสาที่ได้จะมีคุณสมบัติทนทานไม่กรอบและไม่เปื่อยยุ่ยง่าย สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยกระดาษสาสามารถนำมาทำเป็นสิ่งประดิษฐ์และของใช้ได้มากมาย เช่น กระดาษห่อของขวัญ กระดาษห่อของกันแตก ร่ม ว่าว พัด ดอกไม้ โคมไฟ ตุ๊กตา ของชำร่วย บัตรอวยพรต่าง ๆ เป็นต้น)ทางภาคเหนือจะใช้เส้นใยจากเปลือกลำต้นปอกระสา นำมาทำเป็นกระดาษหรือกระดาษทำร่ม โดยมีกรรมวิธีในการทำคือ ให้นำเปลือกสดมาทุบให้อ่อน แล้วนำไปแช่ในน้ำปูนขาว จากนั้นก็นำมาต้มน้ำให้เดือดจนได้เส้นใยออกมา แล้วนำมาล้างด่างออกให้หมด จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง ก็จะได้กระดาษชนิดหยาบ ถ้าเอามาเผาบนพื้นแก้วหรือนำมารีดให้เรียบก็จะได้เป็นกระดาษ ใช้ทาน้ำมันทำเป็นกระดาษทำร่มกันฝน กันแดดได้ นอกจากนี้เปลือกต้นยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกหรือใช้ทอผ้าได้อีกด้วย
- แกนของลำต้นที่เหลือจากการลอกเปลือกออกไปแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ทำเยื่อกระดาษได้ โดยใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ ซึ่งจะมีปริมาณเยื่อกระดาษอยู่ในระดับสูงประมาณร้อยละ 50 และ 70 ในการผลิตเยื่อโซดาและเยื่อนิวทรัลซัลไฟต์เซมิเคมิคัล ตามลำดับ
- เปลือกต้นใช้ทำเชือกหรือนำมาลอกออกแล้วนำไปขายได้
- ใบหรือยอดอ่อนนำมาหั่นหยาบ ๆ ใช้เป็นอาหารหมู หรือต้มให้หมูกิน หรือนำมาหั่นแล้วต้มผสมรำเป็นอาหารหมู หรือใช้ใบเป็นอาหารเลี้ยงวัว เลี้ยงปลา
- ผลสุกหรือเมล็ดใช้เป็นอาหารของนกและกระรอก
- น้ำมันจากเมล็ดใช้สำหรับทำเครื่องเขิน สบู่
- ใช้เป็นแหล่งสีธรรมชาติ โดยการนำใบมาสกัดจะได้สีเหลือง
- เนื้อไม้ใช้ทำตะเกียบและไม้จิ้มฟัน
-
ต้นปอกระสาจัดเป็นไม้เนื้ออ่อนเจริญเติบโตได้รวดเร็ว จึงเหมาะปลูกเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียว ปลูกเป็นสวนป่า นอกจากจะเป็นไม้โตเร็วแล้วยังมีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ขยายพันธุ์ได้ง่าย และช่วยลดมลภาวะได้อีกด้วย

สรรพคุณทางยาของปอสา
เปลือกและผลใช้เป็นยาในปากีสถาน สารสกัดด้วยเอทานอลจากพืชอบแห้งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ
คุณค่าทางโภชนาการของปอสา
การแปรรูปของปอสา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : https://skpcm-99.blogspot.com/2018/12/blog-post.html
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2
http://www.rspg.or.th/plants_data/use/fiber1-5.htm