ปออีเก้ง เนื้อไม้อ่อนมากและเบา เหมาะสำหรับทำไม้อัด

ปออีเก้ง

ชื่ออื่นๆ : ปอขี้ลิ้น (หนองคาย) ปอขี้เลียด (เชียงใหม่ สระบุรี) ปอขี้แฮด (เชียงใหม่ เหนือ) กะพงใหญ่ (ระยอง) กุลูกะแปงบูกง (มลายู ปัตตานี) คางฮุ่ง (พิษณุโลก) คำโรง (มลายู ปัตตานี) บอนครั่ง (ระนอง) ปง (สุราษฎร์ธานี) ปอกระด้าง (ภาคเหนือ) ปอขี้ไก่ (สุโขทัย) ปอขี้แตก

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ปอกระด้าง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocymbium tinctorium (Blanco) Merr.

ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ลักษณะของปออีเก้ง

ต้น ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง  เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา เปลือกเรียบหรือมีตุ่มกระจายทั่วลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลแดงสลับขาว เปลือกหนา 3-5 เซนติเมตร

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบรูปไข่หรือรูปหัวใจ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบรูปลิ่มหรือมนหรือรูปหัวใจ ขอบใบเว้าเป็นลอนหรือเป็นคลื่น

ดอก  ช่อดอกแบบช่อแยกแขนง เกิดตามกิ่งหรือที่ปลายกิ่ง ดอกสีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูประฆัง ปลายกลีบแยกเป็น 5 แฉก กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 เซนติเมตร พูกลีบเลี้ยงยาวเท่ากับหลอดกลีบ ไม่มีกลีบดอก แกนเกสรเพศผู้มีขนสีขาวที่ฐาน

ผล ผลยาว 5-6 เซนติเมตร สีเทาดำ 3-5 ผลต่อ 1 ก้าน แต่ละผลมีเปลือกบางคล้ายกระดาษเป็นรูปเรือห่อหุ้มเมล็ดย่นๆ ที่ฐาน 1 เมล็ด

ต้นปออีเก้ง
ต้นปออีเก้ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา

การขยายพันธุ์ของปออีเก้ง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ปออีเก้งต้องการ

ประโยชน์ของปออีเก้ง

เนื้อไม้อ่อนมากและเบา เหมาะสำหรับทำไม้อัด เซฟวิ่งบอร์ด ลังใส่ของ เปลือกใช้ทำ เชือก ผสมสีย้อมทำให้สีคงทน ผลมีพิษ

ดอกปออีเก้ง
ดอกปออีเก้ง ดอกสีเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงรูประฆัง

สรรพคุณทางยาของปออีเก้ง

คุณค่าทางโภชนาการของปออีเก้ง

การแปรรูปของปออีเก้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9540&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment