ปุด พืชตระกูลขิงข่า มีเหง้าอยู่ใต้ดิน

ปุด

ชื่ออื่นๆ : ปุด, ปุดใหญ่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Etlingera coccinea

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของปุด

เป็นพืชตระกูลขิงข่า มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สูง 1.5-3 เมตร ใบคล้ายใบกล้วย ปลายแคบเป็นติ่งแหลม โคนมน ก้านใบยาวและโคนก้านใบจะแผ่ออกเป็นกาบหุ้มลำต้น ดอกเป็นช่อสั้นๆ ใกล้ๆ กับโคลนต้นซึงแทงขึ้นมาจากเหง้า ช่อหนึ่งมี 4-10 ดอก ดอกเป็นรูปกรวยหงายสีแดงสด ขอบกลีบสีเหลืองอ่อน กลีบดอกมีหลายกลีบแล้วแต่ความสมบูรณ์ของแต่ละต้น ช่วงเวลาออกดอก ตลอดปี มากสุดในช่วงต้นฤดูฝน

ปุด
ดอกสีแดงสด ขอบกลีบสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของปุด

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/การขยายพันธ์ใช้เหง้า หรือการแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ปุดต้องการ

ประโยชน์ของปุด

ต้นปุดอ่อน ลอกกาบนอกออก เหลือไว้เฉพาะไส้ใน กินเป็นผักสด เหง้า หน่ออ่อน และไส้ของปุด มีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน ใช้เป็นเครื่องเทศใส่ในแกงชนิดต่าง ๆ

เหง้าและหน่อปุดอ่อนนำมาแกงเหลือง แกงกะทิ ช่วยลดกลิ่นของเนื้อสัตว์ นำมาต้มใช้กินแนมกับน้ำพริก หน่ออ่อนที่ลอกเปลือกแล้วนำมาดอง กินกับขนมจีนน้ำยา

หน่ออ่อนของปุด นำมาทำอาหารได้สารพัด จะต้ม ลวก เป็นผักจิ้ม หรือทำแกงเปอะแบบหน่อไม้

สรรพคุณทางยาของปุด

กอปุด ขึ้นเป็นดงอยู่ตามเชิงเขา โดยเฉพาะริมลำธาร ที่มีน้ำซับซึม ชุ่มชื้นตลอดปี ต้นของมันขึ้นเป็นกอคล้ายต้นข่า ต้นดาหลา เพราะมันเนไม้ครอบครังเดียวกัน แต่ลำต้น หน่อ ใบ ของต้นปุดใหญ่โตกว่ามากมาย

คุณค่าทางโภชนาการของปุด

การแปรรูปของปุด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10686&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment