ผักกะเดา กาเดา (อีสาน) สะเดา (กลาง) กะเดา ไม้เดา (ใต้), สะเลียม (เหนือ),
ชื่ออื่นๆ : สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Margosa, Neem, Siamese Neem tree, Nim
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton
ชื่อวงศ์ : : Meliaceae
ลักษณะของผักกะเดา กาเดา (อีสาน) สะเดา (กลาง) กะเดา ไม้เดา (ใต้), สะเลียม (เหนือ),
ไม้ยืนต้น สูง 5-10 เมตร ทุกส่วนมีรสขม ยอดอ่อนที่แตกใหม่มีสีน้ำตาลแดง เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่อง ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ฐานใบไม่เท่ากัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด รูปรี มี 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของผักกะเดา กาเดา (อีสาน) สะเดา (กลาง) กะเดา ไม้เดา (ใต้), สะเลียม (เหนือ),
ใช้เมล็ด/-
ธาตุอาหารหลักที่ผักกะเดา กาเดา (อีสาน) สะเดา (กลาง) กะเดา ไม้เดา (ใต้), สะเลียม (เหนือ),ต้องการ
ประโยชน์ของผักกะเดา กาเดา (อีสาน) สะเดา (กลาง) กะเดา ไม้เดา (ใต้), สะเลียม (เหนือ),
ประโยชน์ด้านกำจัดแมลง : ป้องกันและกำจัดศัตรูพืช อาทิ ตั๊กแตน หนอนชอนใบ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว แมลงหวี่ขาว ด้วงหมัดผัก หนอนใยกะหล่ำปลี หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนกอหนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนบุ้งปอแก้ว แมลงในโรงเก็บ ไส้เดือนฝอย
การนำไปใช้: สารสกัดสะเดาที่มีในเมล็ดและใบ มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ขับไล่ ต่อต้านการดูดกิน ยับยั้งการเจริญเติบโต ป้องกันและกำจัดแมลงได้หลายชนิด
วิธีใช้:
วิธีที่ 1. โรยเมล็ดสะเดาบดตามแปลงผักเพื่อปรับสภาพดิน
วิธีที่ 2. นำเมล็ดสะเดา 1 กก. บดให้ละเอียด ห่อผ้าแช่น้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 คืน ก่อนใช้ผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะ นำไปฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในตอนเย็น
วิธีที่ 3. นำเมล็ดและใบสะเดา เหง้าข่าแก่ ตะไคร้หอม อย่างละ 2 กก. สับให้ละเอียด แล้วตำหรือบดรวมกัน แช่น้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วกรองเอาหัวเชื้อที่ได้ ผสมน้ำเปล่า 1 ปี๊บ ต่อน้ำยา 0.5 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7 วัน ในตอนเย็น
วิธีที่ 4.นำเมล็ดสะเดาแห้ง ที่ประกอบด้วยเปลือกหุ้มเมล็ด และเนื้อเมล็ด มาบดให้ละเอียด แล้วนำผงเมล็ดสะเดามาหมักกับน้ำ ในอัตราส่วน 1 กก. ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยใช้ผงสะเดาใส่ไว้ในถุงผ้าขาวบาง แล้วนำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 1 วัน ใช้มือบีบถุงตรงส่วนของผงสะเดา เพื่อให้สาร อะซาดิแรคติน ที่อยู่ในผลสะเดา สลายตัวออกมาให้มากที่สุด เมื่อจะใช้ก็ยกถุงผ้าออก บีบถุงให้น้ำในผงสะเดาออกมาให้หมด ก่อนใช้นำน้ำที่ได้ผสมน้ำสบู่หรือแชมพู แล้วนำไปฉีดพ่น
สรรพคุณทางยาของผักกะเดา กาเดา (อีสาน) สะเดา (กลาง) กะเดา ไม้เดา (ใต้), สะเลียม (เหนือ),
สารสำคัญ: bitter principle เปลือกต้นมีสาร nimbin, desacetylnimbin ในใบมี quercetin ในเมล็ดมีสาร azadirachtin สามารถฆ่าแมลงได้ และพวก quinone ตำรายาไทย ใช้ก้านใบเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด เปลือกต้นแก้ท้องเดิน แก้บิดมูกเลือด ผลเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะพิการ ดอกเป็นยาบำรุงธาตุ รากแก้ไข้ ทำให้อาเจียน
คุณค่าทางโภชนาการของผักกะเดา กาเดา (อีสาน) สะเดา (กลาง) กะเดา ไม้เดา (ใต้), สะเลียม (เหนือ),
การแปรรูปของผักกะเดา กาเดา (อีสาน) สะเดา (กลาง) กะเดา ไม้เดา (ใต้), สะเลียม (เหนือ),
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11739&SystemType=BEDO
https://www.flickr.co