ผักคันจอง ผักพาย
ชื่ออื่นๆ : ผักก้านจอง, บอนจีน, นางกวัก, ตาลปัตรยายชี, ตาลปัตรฤๅษี, ผักด้ามรั่ว (เหนือ)
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกาใต้เขตร้อน
ชื่อสามัญ : ผักพาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Limnocharis flava Buch.
ชื่อวงศ์ : LIMNOCHARITACEAE
ลักษณะของผักคันจอง ผักพาย
ต้น เป็นไม้น้ำ พบบริเวณนาข้าว และบริเวณที่มีน้ำขัง เช่น หนองน้ำ สระ คู ห้วย ผักพาย เป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นเป็นเหง้าฝังจมอยู่ในโคลนเจริญเป็นต้น
ใบ ใบขึ้นเหนือผิวน้ำ บางครั้งมีไหลสั้นๆ จำนวนมาก ใบเป็นใบเดี่ยวรูปร่างกลมรี ยาว 15-18 ซม. กว้าง 12 ซม. มีก้านใบงอกยื่นอยู่เหนือผิวน้ำก้านใบยาว ประมาณ 30ซม.ก้านใบสีเขียวอ่อนเป็นเหลี่ยมอวบน้ำพองลม(คล้ายก้านใบผักตบ)เมื่อหักก้านใบจะพบมียางสีขาวซึมออกมา แผ่นใบใหญ่และแผ่คล้ายใบตาลปัตร
ดอก ดอกเป็นดอกช่อแบบร่ม มีดอกย่อย 7-10 ดอก กลีบ ดอกสีเหลืองหลุดร่วงง่ายเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกย่อ ประมาณ 1.5 ซม.
การขยายพันธุ์ของผักคันจอง ผักพาย
ใช้กิ่ง,ลำต้น, การเพาะเมล็ด
การปลูกผักพายทำได้โดยใช้ต้นอ่อนแยกไปเพาะให้เจริญเติบโต
ธาตุอาหารหลักที่ผักคันจอง ผักพายต้องการ
ประโยชน์ของผักคันจอง ผักพาย
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
- ประโยชน์ทางอาหาร ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลต้นอ่อนก้านใบอ่อนและดอกอ่อนของผักพายสามารถรับประทานเป็นผักสดแกล้มแบบส้ม ตำลาบก้อยน้ำพริกและยังทำเป็นผักสุกโดยการลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริกชาวอีสานนำผักพายมาปรุงเป็นก้อยผักพาย ทำให้รสชาติของผักพายอร่อยมากขึ้น
- ทั้งต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น โค กระบือ ถ้ามีขึ้นในปริมาณที่มากสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้
ผักพายมีรสหวานมันและออกขมเล็กน้อยช่วยเจริญอาหารกองโภชนาการกระทรวงสาธารณสุขได้วิเคราะห์
สารอาหารในผักตะสะปัดฤาษีหรือตะละปัดใบพายไว้ซึ่งคาดว่าจะเป็นชนิดเดียวกับผักพายเพราะภาคกลาง เรียกผักพายว่าตาลปัตรฤาษี
สรรพคุณทางยาของผักคันจอง ผักพาย
ผักพายมีสรรพคุณป้องกันไข้หัวลม
คุณค่าทางโภชนาการของผักคันจอง ผักพาย
ผักตาลปัตรฤๅษี 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 14 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
- เส้นใย 0.8 กรัม
- แคลเซียม 7 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 501 ไมโครกรัม
- วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม
- วิตามินบีสอง 0.08 มิลลิกรัม
- ไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 13 มิลลิกรัม
การแปรรูปของผักคันจอง ผักพาย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com
One Comment