ผักกาดนกเขา ยอดอ่อน ใบอ่อนกินเป็นผักเหนาะ
ชื่ออื่นๆ : ผักกาดนกเขา(ภาคใต้) ผักบั้ง ผักแดง(ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด : –
ชื่อสามัญ : Red grass} Giant reed} Great reed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Emilia sonchifolia DC.
ชื่อวงศ์ : Compositae
ลักษณะของผักกาดนกเขา
ผักกาดนกเขา เป็นพืชฤดูเดียว มีอายุสั้น ตั้งแต่งอกจนตายประมาณ 50-60 วัน
ลักษณะของต้น ผักกาดนกเขามีลำต้นขนาดเล็ก ตั้งตรง สีเขียว มีขนอ่อนๆปกคลุม ตลอด ต้นสูงประมาณ 10- 20ซม.
ลักษณะของใบ ใบของผักกาดนกเขา มีลักษณะยาวปลายมน ขอบใบโค้งหยักเล็กน้อย เป็นประเภทใบเดี่ยว เกิดสลับตำแหน่ง-ตรงกันข้าม มีขนอ่อนๆปกคลุมทั่วใบ ก้านใบห่อหุ้มลำต้น หลังใบมีสีเขียวเข้ม ท้องใบมีสีม่วงแดง ส่วนก้านใบและยอดสีเขียวนวล
ลักษณะของดอก ดอกของผักกาดนกเขามีลักษณะ เป็นช่อ ออกปลายยอด ก้านช่อดอกยาว และมีใบเล็ก ๆ ที่ก้านช่อดอก กลีบเลี้ยงยาวเกือบปิดกลีบดอก มีสีเขียว ส่วนกลีบดอกสีม่วงอมชมพูมีเกสรสีขาวฟูเป็นฝอยฝอยคล้ายพู่
ลักษณะของเมล็ด ผักกาดนกเขามี เมล็ดขนาดเล็ก ลักษณะแบนรี สีน้ำตาล อมดำ ตรงปลายมีขนสีขาว และปลิวตามลมได้ง่าย
การขยายพันธุ์ของผักกาดนกเขา
ผักกาดนกเขาใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์ ผักกาดนกเขาขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักกาดนกเขาต้องการ
–
ประโยชน์ของผักกาดนกเขา
ผักกาดนกเขา เป็นพืชที่มีรสจืดเย็น สามารถใช้ประโยชน์ได้ดังนี้
1.ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อนกินเป็นผักเหนาะ จิ้มน้ำพริก แกงเลียง แกงคั่วพริกกับปลาย่าง
2.ทางยา ในทางการแพทย์พื้นบ้านนิยมใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคหลายประการ ดังนี้
2.1 ใช้ลำต้นตำให้แหลกคั่นน้ำดื่มเป็นยา แก้เจ็บคอ รักษาโรค บิด และ ท้องร่วง
2.2 ใช้ทั้งต้นตำให้แหลกพอกหัวฝี และใช้ทาแก้อาการผื่นคัน
2.3 ใช้รากตำให้แหลกคั่นเอาน้ำดื่ม แก้ตานซางขโมยในเด็ก
สรรพคุณทางยาของผักกาดนกเขา
นักวิชาการจากกองโภชนาการกระทรวงสาธารณะสุข ได้ทำการศึกษาวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร ในผักกาดนกเขา เฉพาะส่วนที่กินได้ ปริมาณ 100 กรัม พบว่า มีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับขนาดของต้น ผลการศึกษาปรากฏดังรายละเอียดในตารางข้างล่าง ผลการตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของผักกาดนกเขา จากส่วนที่กินได้ ใน 100 กรัม
ผักกาดนกเขาเป็นผักพื้นบ้านที่ปลูกง่าย ขึ้นได้ในทุกสภาพพื้นที่ มีความทนทานต่อโรค และแมลง สามารถปลูกได้ตลอดปี เป็นที่ต้องการของตลาด ผลตอบแทนต่อไร่ค่อนข้างสูง
ผักกาดนกเขาเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีโรค และแมลงรบกวน ดูแลรักษาง่ายไม่ต้องใช้สารเคมีใดๆ ในทุกขั้นตอนของการผลิต ดังนั้นการปลูกผักกาดนกเขาจึงเป็นกิจกรรมการผลิตพืชอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารเคมี ในทุกระดับทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค ตลอดจนสิ่งแวดล้อม
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดนกเขา
–
การแปรรูปของผักกาดนกเขา
–
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับผักกาดนกเขา
References : www.bedo.or.th
รูปภาพจาก : www.bloggang.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม