ผักกาดหอม มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช หรือเป็นผักตกแต่งเพื่อสวยงาม

ผักกาดหอม

ชื่ออื่นๆ : ผักกาดยี (ภาคเหนือ), สลัด สลัดผัก ผักสลัด (ภาคกลาง), ผักกาดปี, พังฉาย พังฉ่าย พังฉ้าย (จีน)

ชื่อสามัญ : Lactuca sativa Linn.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lactuca sativa L.

ชื่อวงศ์ : ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE

ลักษณะของผักกาดหอม

ต้น ไม้ล้มลุก อายุสองปี ลำต้นตั้งตรง สูงถึง 1 ม. เกลี้ยง

ใบ ไม่มีก้านใบ ใบที่โคนต้นมีขนาดใหญ่ ออกจากลำต้นติดผิวดิน รูปขอบขนานกว้าง หรือ รูปไข่กลับแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-10 ซม. ยาว 6-14 ซม. ปลายใบกลม โคนใบเป็นติ่งหูโอบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ หรือ จักเป็นซี่ฟัน

ดอก เป็นกระจุก สีเหลือง ยาวประมาณ 1.5 ซม. ออกเป็นช่อกระจายที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว 0.5-2 ซม. มีใบประดับค่อนข้างเล็ก เป็นรูปหัวใจกึ่งหัวลูกศร โคนเป็นรูปติ่งหู ปลายมน ด้านล่างมีต่อมเล็กๆ ริ้วประดับรูปไข่ หรือ รูปหอก ยาว 10-13 มม. เกลี้ยง ปลายกลม เรียงเป็น 3-4 วง กลีบดอก ยาวพ้นริ้วประดับ เป็นรูปรางน้ำ จักเป็นซี่ฟัน 5 ซี่ อับเรณูโคนเป็นรูปหัวลูกศร ปลายมน ท่อเกสรเมียมีขนนุ่มแยกเป็นแฉกสั้น

ผล แห้ง รูปไข่กลับ ยาวประมาณ 4 มม. สีดำ แบน มีจงอย ยาว 3-6 มม. มีสันประมาณ 6 สัน ระยางค์ยาวประมาณ 3 มม.

ผักกาดหอม
ผักกาดหอม ขอบใบเรียบ หรือ จักเป็นซี่ฟัน

การขยายพันธุ์ของผักกาดหอม

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักกาดหอมต้องการ

ประโยชน์ของผักกาดหอม

ผักกาดหอม มักใช้เป็นส่วนประกอบของสลัด แซนด์วิช แฮมเบอร์เกอร์ ทาโก้ หรือรับประทานเป็นผักสด แกล้มกับอาหารรสจัดจำพวกยำหรือลาบ สาคูไส้หมู หรือข้าวเกรียบปากหม้อ หรือแม้แต่ใช้เป็นผักตกแต่งเพื่อความสวยงาม

สรรพคุณทางยาของผักกาดหอม

  • ทั้งต้น เป็นยาบำรุง ขับลมในลำไส้ แก้พิษ ระบาย ดับกระหาย น้ำคั้นทาฝีมะม่วงที่รีดหนองออกแล้ว ขับพยาธิ อุดมด้วยไวตามินบี
  • ใบ เป็นอาหาร ทำให้หลับ น้ำคั้นแก้ไข้ไอ ขับปัสสาวะ เหงื่อ
  • เมล็ด มีรสขม เป็นยาหล่อลื่น รักษาโรคตับ ขับน้ำนม ยาระงับปวด ปวดเอว ขับปัสสาวะ รักษาบาดแผลและริดสีดวงทวาร แก้องคชาติบวม ทำให้ผมขึ้นตรงรอยแผลเป็น

คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดหอม

การแปรรูปของผักกาดหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9989&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment