ผักกาดแก้ว
ชื่ออื่นๆ : ผักกาดหอมคริปส์เฮด หรือ ไอซ์เบิรก์
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Iceberg Crisp,Lettuce
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lactuca sativavar var. capitata
ชื่อวงศ์ : Asteraceae
ลักษณะของผักกาดแก้ว
ลำต้น เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นเดี่ยว มีลักษณะกลมๆ อวบอ้วน มีข้อสั้นๆ จะมีก้านใบหนาและอวบน้ำหุ้มอยู่ ออกเรียงสลับโดยรอบๆ ปกคลุมที่โคนลำต้น จะห่อหัวกลม สีขาวนวล ใบ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกตรงโคนลำต้น ออกตามข้อสั้น ออกเรียงสลับรอบๆ
ใบ อยู่ด้านนอกใหญ่กว่าใบข้างในเล็กกว่า ห่อหัวกลมแน่น ใบมีลักษณะทรงกลมรี โคนใบกว้างใหญ่กว่า มีใบหนาเป็นคลื่น เห็นเส้นใบชัดเจน ขอบใบเว้า ใบมีสีเขียวอ่อน สีขาวนวล มีก้านใบสั้น เป็นกาบหนาอวบน้ำ ก้านมีสีขาวนวล รสชาติหวานกรอบ
ราก เป็นระบบรากแก้ว มีลักษณะอวบกลมๆ แทงลึกลงในดิน มีรากฝอยและรากแขนงเล็กๆ ออกรอบๆบริเวณลำต้น มีสีน้ำตาล
ดอก ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกใหญ่ยาว มีแขนงก้านย่อยมาก แบบเชิงหลั่น มีดอกย่อยออกโคนไปที่ปลายยอด ดอกมีลักษณะเล็กๆ กลีบดอกมีสีเหลือง กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน
ผล มีผลเป็นเมล็ด อยู่ในรังไข่ มีเมล็ดจำนวนมาก มีลักษณะทรงหอก แบนยาวรี มีเปลือกหุ้มเมล็ด มีสีน้ำตาล
การขยายพันธุ์ของผักกาดแก้ว
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักกาดแก้วต้องการ
ผักกาดแก้วเป็นพืชชอบน้ำ ระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ต้องหมั่นรดน้ำทุกวัน โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้ผักกาดแก้วโตได้เร็ว ในช่วงระยะเข้าห่อหัว ให้น้ำตลอด
ประโยชน์ของผักกาดแก้ว
เป็นผักที่ได้รับความนิยมมาก เนื่องจากเป็นผักที่มีใบบางกรอบ รสหวาน ไม่เหม็นเขียว และมีน้ำมาก เหมาะสำหรับรับประทานสดในสลัด สเต็ก หรือหากจะนำมาผัด หรือต้ม ลวกเป็นเครื่องเคียงก็ดี เนื่องจากใบจะนิ่ม และเครื่องปรุงรสจะแทรกซึมได้ดี ที่สำคัญเป็นผักที่มีฮีโมโกลบิน ป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
สรรพคุณทางยาของผักกาดแก้ว
–
คุณค่าทางโภชนาการของผักกาดแก้ว
การแปรรูปของผักกาดแก้ว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9990&SystemType=BEDO
http://www.royalprojectthailand.com/1000046
https://www.flickr.com