ผักกูด ไม้จำพวกเฟิร์น เป็นผักป่าที่มีรสจืดอมหวาน กรอบ

ผักกูด

ชื่ออื่นๆ : หมิ้น ขี่หมิ้น ขมิ้นหัว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diplazium esculentum

ชื่อวงศ์ : Athyriaceae

ลักษณะของผักกูด

ผักกูด เป็นเฟิร์นที่ขึ้นตามที่ชุ่มชื้นในทุกภาคทั่วไทย และมีอยู่หลายชนิดที่รสชาติพอกินได้ และชาวบ้านทุกภาคต่างเรียกเฟิร์นที่กินได้นี้ว่าผักกูดเหมือนๆ กัน ยกเว้นในภาษามลายูท้องถิ่นในสามจังหวัดภาคใต้จะเรียกผักกูดชนิดที่กินกันทั่วไปว่า “ปูโจ๊ะปากู” นางสาวสาปีนะห์ แมงสาโมง ผู้ประสานงานชุมชนสังคมของมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ เล่าให้ฟังว่า “ปากู” ในความหมายของชาวบ้านคือเฟิร์น สำหรับผักกูดนั้นเป็นเฟิร์นซึ่งจะมีต่างชนิดกัน เช่น ปากูกือเลาะ ปากูปีเล็ง ปากูดางิง ปากูซาโบ๊ะ ปากูฮัจยี ปากูลาระ เป็นต้น
ปากูเกือบทุกชนิดกินได้ โดยนำยอดอ่อนมาต้ม ยำ ลวก แกง ผัด เช่นเดียวกับผักทั่วไป แต่บางชนิดยอดจะมีรสขมมาก เช่น ปากูกือเลาะ บางชนิดมีขนสีน้ำตาลปกคลุมตามต้นตามยอดมากเกินไปก็เลยไม่กิน เช่น ปากูฮัจยี ก็คือมหาสดำ แต่นิยมกินคือ ปูโจ๊ะปากู ซึ่งเป็นชนิดที่ต้นเล็กๆ และหากจะสังเกตสักนิดจะพบว่า คำว่า “ผักกูด” กับ “ปากู” นั้นช่างออกเสียงคล้ายกันเสียจริงๆ โดยที่ไม่รู้ว่าใครเรียกตามใคร
ความเชี่ยวชาญในการกินผักกูดของคนในชุมชนนั้นดูเหมือนจะมีเหมือนกันทุกๆ ภาค ทั้งภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอิสาน ภาคเหนือหรือทุกๆ ที่ที่มีความชุ่มชื้นและมีอากาศบริสุทธิ์ ที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น กูดใหญ่ กูดง่อง (ย่านลิเภา) กูดหิน กูดจับไม้ กูดจับหิน กูดน้อย กูดไก่น้อย (เฟิร์นลูกไก่) แต่ละชนิดก็มีรสชาติแตกต่างกันออกไป แต่ที่นิยมกินกันโดยทั่วไปคือกูดน้อย และกูดแต่ละชนิดต่างก็มีสรรพคุณทางยาที่แตกต่างกัน แต่ในที่นี้จะนำเพียงสองผักกูดที่คนทั่วไปรู้จักกันดีคือ ผักกูดน้อย กับผักกูดก้อง (ย่านลิเภา)

ผักกูด
ยอดอ่อนและปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอย ใบมีสีเขียวอ่อน

การขยายพันธุ์ของผักกูด

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/ขยายพันธ์โดยการนำเหง้ามาฝั่งดิน

ธาตุอาหารหลักที่ผักกูดต้องการ

ประโยชน์ของผักกูด

ผักกูด คือ ยอดอ่อนของไม้จำพวกเฟิร์น ยอดอ่อน และปลายยอดม้วนงอแบบก้นหอยและมีขนอ่อนๆ เป็นผักป่าที่มีรสจืดอมหวาน กรอบ ผักกูดเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และบีตาแคโรทีน ซึ่งหากกินร่วมกับเนื้อสัตว์ก็จะทำให้เกิดการดูดซึมแร่ธาตุเหล่านี้ได้ดีขึ้น ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงสายตา สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายอย่าง ใบอ่อนใช้แกงกับปลาเนื้ออ่อน ใส่ในแกงแคร่วมกับผักอื่นๆ หรือกินสดๆ จิ้มน้ำพริก หรือจะนำมายำ หรือแค่นำมาผัดกับน้ำมันหอยก็อร่อยแล้ว

นอกจากจะนำมาเป็นอาหารได้แล้วยังนำมาเป็นสมุนไพรได้อีกด้วย ผักกูดมักจะขึ้นอยู่ตามริมน้ำ

เมนูผักกูด
ผัดผักกูด

สรรพคุณทางยาของผักกูด

ผักกูด เป็นผักที่สามารถบอกสภาวะแวดล้อม ให้รู้ว่าดินและอากาศดี มีสารพิษเจือปนอยู่หรือไม่ ถ้าดินไม่ดี อากาศไม่ดี ผักกูดจะไม่ยอมขึ้นหรือแตกต้นในบริเวณนั้น ผักกูดที่ชาวบ้านนิยมกินกันจะเป็นผักกูดที่ออกในหน้าแล้งเพราะรสชาติจะอร่อยกว่าฤดูอื่นๆ ปัจจุบันมีการเก็บขายส่งไปญี่ปุ่น ซึ่งชาวญี่ปุ่นจะนำไปดองกับเกลือ เรียกว่า “วาราบิ”Ž

ผักกูดก้อง เป็นชื่อคนไทยใหญ่นิยมเรียก ย่านลิเภา เนื่องจากผักกูดก้องมีสรรพคุณในการแก้พิษ (ในภาษาไทยใหญ่ “ก้อง” หมายถึง “พิษ”) ผักกูดก้องยังเป็นผักที่รสชาติดีเยี่ยม “พ่ออนุ” หมอยาไทยใหญ่ถึงขนาดออกปากว่า ใครได้กินหมกหน่อผักกูดก้องแล้วจะไม่อยากถ่ายออกมาเลยเพราะอร่อยจริงๆ แต่คนที่จะมีโอกาสได้ลิ้มลองหมกหน่อผักกูดก้องต้องอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์จริงๆ เพราะผักกูดก้องต้นเล็กนิดเดียวกว่าจะหามาหมกพอกินได้ต้องใช้ความพยายามไม่น้อย
ผักกูดก้องหรือที่คนทางอีสานเรียกว่าผักกูดง่อง เนื่องจากลักษณะที่หงิกๆ งอๆ ของผักกูดชนิดนี้ คนโดยทั่วไปจะเรียกผักกูดชนิดนี้ว่า “ย่านลิเภา

คุณค่าทางโภชนาการของผักกูด

การแปรรูปของผักกูด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11031&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment