ผักขมใบแดง
ชื่ออื่นๆ : กำมะหยี่ (ภาคกลาง) ส่วนในกรุงเทพฯ เรียกว่า ผักขมใบแดง หรือ ผักโขมใบแดง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Love-lies-bleeding
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus caudatus L
ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE
ลักษณะของผักขมใบแดง
ต้น เป็นไม้ล้มลุกมีอายุเพียงฤดูเดียว ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงได้ถึง 1 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นสีแดงเข้ม บริเวณปลายกิ่งมีขนขึ้น
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร ตามตำราว่าแผ่นใบเป็นสีแดง แต่จากการสืบค้นข้อมูลในต่างประเทศพบว่าแผ่นใบเป็นสีเขียว
ดอก ออกดอกเป็นช่อเชิงลด โดยจะออกบริเวณซอกใบและที่ปลายกิ่ง ช่อดอกมีดอกย่อยจำนวนมาก เรียงตัวอัดกันเป็นช่อแน่น ๆ ดอกเป็นแบบแยกเพศมีขนาดเล็ก เหนียวคล้ายแผ่นหนังสีม่วง
ผล เป็นผลแห้งและแตกได้ ภายในมีเมล็ดสีดำถึงสีน้ำตาลเข้ม สีแดง หรือสีเหลืองอ่อน ผิวเมล็ดเป็นมัน
การขยายพันธุ์ของผักขมใบแดง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ผักขมใบแดงต้องการ
ประโยชน์ของผักขมใบแดง
- ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานได้
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป เพราะดอกออกเป็นช่อใหญ่ดูสวยงาม
สรรพคุณทางยาของผักขมใบแดง
ตำรับยาพื้นบ้านล้านนาจะใช้ใบผักขมใบแดง 3 ใบ นำมาตำผสมกับใบมันเทศ 3 ใบ ใช้เป็นยาพอกรักษาฝี
คุณค่าทางโภชนาการของผักขมใบแดง
การแปรรูปของผักขมใบแดง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10561&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/