ผักคะน้า ผักกินใบกินต้น พืชอายุสั้นนิยมนำมาใช้ทำอาหารได้หลายเมนู
ชื่ออื่นๆ : ผักคะน้า, ไก่หลันไช่ (จีนกวางตุ้ง) และ กำหนำ (จีนแต้จิ๋ว)
ต้นกำเนิด : ประเทศจีน
ชื่อสามัญ : ผักคะน้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brassica alboglabra
ชื่อวงศ์ : Brassicaceae(Crucifereae – Mustard family)
ชื่อภาษาอังกฤษ : CHINESE KALE
ลักษณะของผักคะน้า
ผักคะน้า เป็นพืชผักใบเขียวที่นิยมรับประทานทั่วไปโดยบริโภคส่วนของใบและลำ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชียและปลูกกันมากในประเทศจีน ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซียและประเทศไทย ซึ่งชาวจีนเรียกคะน้าว่า ไก่หลันไช่
ผักคะน้าเป็นผักอายุ 2 ปี แต่ปลูกเป็นผักฤดูเดียว อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 45-55 วัน ผักคะน้าสามารถปลูกได้ตลอดปี
คะน้าที่นิยมปลูกในประเทศไทยมีอยู่ 3 พันธุ์ด้วยกันคือ
พันธุ์ใบกลม มีลักษณะใบกว้างใหญ่ ปล้องสั้น ปลายใบมนและผิวใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ได้แก่ พันธุ์ฝางเบอร์ 1 พันธุ์ใบแหลม เป็นพันธุ์ที่มีลักษณะใบแคบกว่าพันธุ์ใบกลม ปลายใบแหลม ข้อห่าง ผิวใบเรียบ ได้แก่ พันธุ์ P.L.20 พันธุ์ยอดหรือก้าน มีลักษณะใบเหมือนกับคะน้าใบแหลม แต่จำนวนใบต่อต้นมีน้อยกว่า ปล้องยาวกว่า ได้แก่ พันธุ์แม่โจ้ 1อินลั๊ก..มาก
การขยายพันธุ์ของผักคะน้า
ใช้เมล็ด/- การเพาะกล้า เพาะกล้าคะน้าที่อายุ 20 วันนับจากหยอดเมล็ด
– ขั้นตอนการดูแลรักษาต้นกล้า เมื่อพืชอายุได้วัน 5 เมล็ดงอก 2 ใบ เมื่อครบ 10 วัน รดด้วยปุ๋ย 14-0-14 อัตรา 1 กรัม/ถาด ทุกๆ 3 วัน
– เมื่อต้นกล้าอายุได้ 20 วันจึงงดการให้น้ำเพื่อเตรียมให้ต้นกล้าแข็งแรงก่อนย้ายปลูก
– การเตรียมแปลงปลูก ทำการโรยปุ๋ยอินทรีย์ในแปลงร่องละ100 Kg/ Block แล้วใช้รถไถพรวนเล็กตีให้ปุ๋ยอินทรีย์เข้ากันกับวัสดุปลูก
– หลังจากตีแปลงแล้วใช้คราดเกลี่ยวัสดุปลูกให้เสมอกันเพื่อ จัดระยะการปลูกคะน้าที่ 20x20cm.
– การย้ายกล้าลงปลูก นำกล้าที่อายุ 20 วัน มาทำการย้ายลงแปลง
– เก็บเกี่ยวคะน้าที่อายุประมาณ 35 วัน (นับจากย้ายกล้าปลูก) ตามขนาดต้นคะน้าที่ได้คุณภาพ
ประโยชน์ของผักคะน้า
รับประทานเป็นอาหาร ผักคะน้ามีวิตามินหลายชนิด เช่น มีวิตามินบี วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเบต้าแคโรทีน 186.92 ไมโครกรัม/100 กรัม ช่วยบำรุงสายตา และผิวพรรณ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก
นอกจากนั้นยังพบ กอยโตรเจน (goitrogen)ในคะน้า ซึ่งบริโภคมากๆ ทำให้ท้องอืด
สรรพคุณทางยาของผักคะน้า
ตั้งแต่รุ่นทวดรุ่นยายเคยบอกไว้ว่าช่วงใกล้มีประจำเดือน ถ้าเราทานคะน้าจะทำให้ประจำเดือนเลื่อนออกไป ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้มะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ และยังมีวิตามินซีช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคมีความแข็งแรงสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยมช่วยเสริมสร้างกระดูก ใบและก้านใบของผักคะน้า บำรุงผิวพรรณบำรุงและรักษาสายตา ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม เสริมสร้างเนื้อเยื่อ ระบบภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ต้านทานการติดเชื้อ สร้างเม็ดเลือดแดงช่วยบำรุงโลหิตช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาอาการไมเกรน ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ช่วยรักษาโรคหอบหืด ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
คุณค่าทางโภชนาการของผักคะน้า
- คะน้า 100กรัม ให้พลังงาน 31 กิโลเคลอรี
- ประกอบด้วยน้ำ 92.1 กรัม
- โปรตีน 2.7 กรัม
- ไขมัน 0.5 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 3.8 กรัม
- เส้นใย 1.6 กรัม
- แคลเซียม 245 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 80 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 2,512 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 419 iu.
- วิตามินบี1 0.05 มิลลิกรัม
- วิตามินบี2 0.08 มิลลิกรัม
- ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 147 มิลลิกรัม
การแปรรูปของผักคะน้า
คะน้า เป็นพืชผักยอดฮิตที่อยู่ในตระกูลกะหล่ำอีกชนิดหนึ่ง หาง่ายทานอร่อย และ มีน้อยคนนักที่รู้ว่าคะน้านั้นสามารถนำมาแปรรูปหรือถนอมไว้ในรูปของการดองได้
References : www.bedo.or.th
ภาพประกอบ : thaiherbal.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
16 Comments